A.P. Honda

Safety Thailand

A.P. Honda Youtube Channel A.P. Honda Facebook Fanpage
ติดต่ออบรม ติดต่ออบรม ติดต่ออบรม

รายละเอียดกิจกรรม

หน้าแรก รายละเอียดกิจกรรม

พ.ศ.2532 ( 1989 )
รถจักรยานยนต์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการดำรงชีวิตประจำวัน จำนวนรถจักรยานยนต์สูงเกินกว่า15ล้านคัน(อัตราครอบครองรถจักรยานยนต์ 4 คนต่อ 1 คัน) จากสถิติดังกล่าว ส่งผลให้ สภาพการจราจรเปลี่ยนแปลงไป อัตราการเกิด อุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ความปลอดภัยบนท้องถนน จึงทำ การผลักดันแผนการรณรงค์การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนสู่สังคม ภายใต้ สัญลักษณ์ SAFETY THAILAND “เมืองไทยปลอดภัย”
พ.ศ. 2537 ( 1994 ) สร้างศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยแห่งแรกในอาเซียน
ฮอนด้าได้ทุ่มเททั้งกำลังคนและงบประมาณการดำเนินงานทั้งสร้างสนามขับขี่ปลอดภัย และได้เชิญเจ้าหน้าที่ครูฝึกจากร้านผู้จำหน่าย และ หน่วยงานราชการ เข้าร่วมแข่งขันเจ้าหน้าที่วิทยากรครูฝึกขับขี่brทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมกิจกรรมขับขี่ปลอดภัย ให้พัฒนาขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการฝึกขับขี่ปลอดภัย และมีครูฝึกที่มีคุณภาพและมีทักษะในการขับขี่ รวมถึงความเหมาะสมในการเป็นวิทยากรครูฝึก ฉะนั้นจำเป็นจะต้องรักษามาตรฐานและยกระดับคุณภาพของวิทยากรครูฝึกขับขี่ปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2544 ( 2001 )ขยายศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัย
เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้รถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น จึงได้เปิดศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า แห่งใหม่บนพื้นที่เดิมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่ได้มาตรฐาน บนพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร และเป็นศูนย์ฝึกฯ แห่งแรกที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ที่สามารถอบรมและทดสอบผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกได้ ได้รับเกียรติจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธีเปิด
พ.ศ.2546 ( 2003 )ทำโครงการเปิดไฟ ใส่หมวก
สถาบันวิจัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASIC) ทำการวิจัยและศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุกับรถจักรยานยนต์ สาเหตุของการเกิดอุ บัติเหตุกับรถจักรยานยนต์ แบ่งเป็น
1.อุบัติเหตุที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แบบ ไม่มีคู่กรณี
2. อุบัติเหตุที่รถจักรยานยนต์แบบ มีคู่กรณี ความสัมพันธ์ของการเปิดไฟหน้าของรถจักรยานยนต์ในเวลากลางวันกับการลดลงของอุบัติเหตุ คู่กรณีเห็นรถจักรยานยนต์ได้ในระยะไกลจากแสงไฟ มีคู่กรณี มีความสัมพันธ์ของการเกิดอุบัติเหตุสูง ในช่วงเย็น และเวลากลางวัน โดยเฉพาะลักษณะ
- การเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ขณะ เลี้ยวขวา
- การชนทางด้านขวา
- การชนทางด้านหน้า การเปิดไฟหน้เวลากลางวันทำให้รถคันอื่นสามารถมองเห็นรถจักรยานยนต์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2546 หลักสูตวิทยากรครูฝึก เอ.พี.ฮอนด้า
เพื่อตอบสนองให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งในช่วงนั้น เจ้าหน้าที่ครูฝึกขับขี่ปลอดภัย เอ.พี. ฮอนด้า เองมีอยู่ประมาณ 10 คน ซึ่งเมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนในการดูแลร้านผู้แทนจำหน่าย ก็ไม่เพียงพอ และในส่วนของการสอน ครูฝึกเองต้องทำการสอนทั้งภายในศูนย์ฯและนอกศูนย์ฯ ( ครูฝึก 1 คน รับผิดชอบในแต่ละภาคที่ตัวเองดูแลอยู่ ซึ่งเรียกว่า ครูฝึกประจำภาคฯ ) ในการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ครูฝึกประจำภาค 1 คนจะมีร้านที่ต้องดูแลอยู่ประมาณ 50 – 60 ร้าน และต้องวิ่งออกไปสอนยังต่างจังหวัดที่ตัวเองดูแลอยู่ได้ไม่ค่อยทั่วถึง ดังนั้นจึงได้เกิดแนวคิดขึ้นมา ให้ทางร้านสามารถทำการสอนได้เอง แนวคิดการสร้าง ครูฝึก ( Instructor ) จากการที่มีหลักสูตร ผู้ช่วยครูฝึก ( Sub-Instructor ) มาตั้งแต่ยุคแรกๆในการก่อตั้งแผนกฯ ไม่สามารถตอบโจทย์ในการฝึกอบรมได้อย่างครอบคลุม สาเหตุก็เพราะว่า ผู้ช่วยครูฝึกส่วนใหญ่จะมีความถนัดในเรื่องของการขับขี่เป็นหลัก ไม่เชี่ยวชาญในด้านการพูดหรือบรรยาย จึงมีแนวคิดที่ว่า ควรจะมีหลักสูตร ครูฝึก เพื่อรองรับให้ครูฝึกเก่งทั้งด้านการพูด บรรยาย และ การขับขี่จึงได้เริ่ม มีหลักสูตร ครูฝึกเกิดขึ้นเมื่อ ปี 2546 ปรับปรุงหลักสูตรโดยพุ่งเป้าไปในเรื่องของการพูด การสอน การบรรยาย การกล้าแสดงออกหน้าเวที การวางตัวอย่างไร จึงได้มีการวางรูปแบบการสอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2547 ( 2004 ) ได้รับการรับรองเป็นโรงเรียนสอนขับรถเอกชน
ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้า ได้รับความไว้วางใจจากกรมการขนส่งทางบก ให้เป็นโรงเรียนสอนขับรถจักรยานยนต์แห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถอบรมและสอบใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้เช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ครูฝึกขับขี่ปอลอดภัยทั้ง 8 คนของฮอนด้าในขณะนั้น ยังเป็นครูฝึก 8 คนแรก ของประเทศไทยที่ได้การรับรองให้เป็นครูฝึกสอนขับขี่ปลอดภัย ( Super Instructor ) จากกรมการขนส่งทางบกด้วย โดยทั้ง 8 คนนี้ สามารถทำหน้าที่ฝึกอบรมครูฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย คือเป็นผู้ฝึกสอนหลักสูตรครูฝึก และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตขับขี่
พ.ศ. 2548 ( 2005 )ขยายศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยสู่ภูมิภาค
2548 ( 2005 ) ขณะทีสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ให้ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยเป็นจานวนมาก ส่งผลให้ภาครัฐโดยกรมการขนส่งทางบกได้ออกข้อกำหนดในการมีใบอนุญาตขับขี่ใหม่ว่า ผู้ที่ขอรับใบอนุญาต ต้องผ่านการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อน จึงจะถือว่าสอบผ่านและได้รับใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ มาตรการดังกล่าวทาให้ฮอนด้าในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งในสังคมที่มุ่งมั่นทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้การฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยมาโดยตลอด ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการผลักดันมาตรการนี้ โดยฮอนด้าเชื่อว่าจะสามารถสร้างประสิทธิภาพในการลดอุบัติเหตุได้อย่างแท้จริงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ปลอดภัยเป็นจำนวนมาก ตามที่ได้รับการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งเป็นการรองรับจำนวนผู้ทำใบอนุญาตขับขี่ ที่ต้องการขอรับบริการฝึกอบรมและขอใบอนุญาตอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ต่างจังหวัดอาจมีสำนักงานขนส่งเพียงแห่งเดียว จึงอาจจะไม่เพียงพอต่อการผลักดันให้ผู้ขอรับอนุญาตและประชาชนทั่วไปได้รับการอบรมหลักสูตรการขับขี่ปลอด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด จึงได้ริเริ่มและประกาศให้การสนับสนุนผู้จำหน่ายและภาครัฐในเวลาต่อมา ในการเปิดศูนย์ขับขี่ปลอดภัยในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อขยายการเรียนการสอนขับขี่ปลอดภัยให้มากขึ้น ตามนโยบายการยกระดับการทำงานของศูนย์ฝึกฯ ขึ้นสู่การดำเนิน การขยายจำนวนศูนย์ขับขี่ปลอดภัย ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ โดยบริษัท กรีนวิง มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถือเป็นร้านผู้จำหน่ายบริษัทแรกที่ได้เปิดศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยในภูมิภาคแห่งแรกขึ้นในจังหวัดเชียงรายในปลายปี พ.ศ. 2548 ( 2005 ) และมีการเปิดศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ในเวลาต่อมาคือ บริษัท ทีเคซีมอเตอร์ไบค์ จำกัด จังหวัดกำแพงเพชร บริษัท บุรีรัมย์ยนตรการ จำกัด จังหวัดบุรีรัมย์ หจก.กันชัยฮอนด้า จังหวัดพิษณุโลก บริษัท เตชอัมพรพาณิชย์ จำกัด จังหวัดราชบุรี บริษัท ศุภกิตติ์มอเตอร์สุราษฎร์ธานี จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริษัท เกียรติสุรนนท์อุบลราชธานี จำกัด จังหวัดอุบลราชธานี บริษัท พรนุภาพมอเตอร์ไบค์ จำกัด จังหวัดเพชรบุรี บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด จังหวัดยโสธร และ บริษัท สารคุณ จำกัด จังหวัดนครสวรรค์ รวม 10 แห่ง
พ.ศ. 2548 ( 2005 ) ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
ในศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 12 เขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขับขี่ปลอดภัย เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เนื่องในโอกาสงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ 80 พรรษาได้ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้ขับขี่ปลอดภัยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดสร้างสนามฝึกขับขี่ปลอดภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ตามมาตรฐานสนามของ กรมการขนส่งทางบกเพื่อเสริมสร้างทักษะการขับขี่รถจักยานยนต์อย่างปลอดภัยและถูกกฏจราจร ในการดำเนินโครงการดังกล่าว บริษัท เอ พี ฮอนด้า จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณในการ จัดสร้างสนามฯ พร้อมวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และรถจักรยานยนต์ และร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในพื้นที่ร่วมมอบรถจักรยานยนต์สำหรับฝึกอบรมอีกด้วย
โดยในการฝึกอบรม จะมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชนทั่วไป ที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลัก ให้ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามหลักการขับขี่อย่างปลอดภัยและถูกกฏจราจรทั้งภาคทฎษฎีและภาคปฏิบัติ มุ่งหวัง การดำเนินการฯ ดังกล่าว จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ และมีทักษะในการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย และถูกกฏ อันจะทำให้อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ลดน้อยลงตามนโยบายของรัฐบาล
พ.ศ. 2552 ( 2009 ) ยกระดับศักยภาพเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนสร้างศูนย์ฝึกฯ แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เพียบพร้อมด้วยมาตรฐาน และใหญ่ที่สุดในอาเซี่ยน
ฮอนด้าได้ต่อยอดกิจกรรมด้านสังคมในส่วนที่เชื่อมโยงสู่การส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน หลังจากเป็นผู้บุกเบิกและดำเนินการในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ได้จัดสรรงบประมาณเกือบ 900 ล้านบาท เพื่อยกระดับศักยภาพการส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยอย่างครบวงจรแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ซึ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซี่ยน และเพียบพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการฝึกอบรมที่มีมาตรฐาน อันเป็นผลให้การฝึกมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสามารถรองรับการฝึกขับขี่ได้ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตั้งแต่หลักสูตรระดับพื้นฐานจนกระทั่งถึงระดับฝึกทักษะขั้นสูง และที่สำคัญได้รับการรับรองจาก กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
พ.ศ. 2553 ( 2010 ) Zero Accident อุบัติเหตุเป็นศูนย์ เริ่มต้นที่ตัวคุณ
แนวคิดว่า หากทุกคนช่วยกันตั้งเป้าหมายตนเองให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ สถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนก็ลดลงเหลือน้อยที่สุดโดยการ อบรมด้านวินัยจราจรและความรู้ขับขี่ปลอดภัย และ รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ขี่ใส่หมวก ขี่ไม่ซิ่ง ขี่ไม่เมา ปี 2554 นี้เป็นปีรณรงค์สวมหมากนิรภัย 100% ของทางรัฐบาล ฮอนด้า จึงได้เตรียมต่อยอดหลากหลายกิจกรรมมากมาย เกี่ยวกับโครงการลดอุบัติเหตุุ ร่วมกับร้านผู้จำหน่ายอย่างเต็มที่ โดยส่วนหนึ่งได้รับเกียรติจาก คุณแอ๊ด คาราบาว มาร่วมแต่งเพลงพิเศษ Zero Accident เพื่อใช้ในการสื่อสารของโครงการ พร้อมร่วมเป็นทูตประชาสัมพันธ์โครงการไปในขณะเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้หลักการสำคัญ ในการกระตุ้นจิตสำนึกในการลดอุบัติเหตุ ถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับท้องถิ่นมากขึ้น
พ.ศ. 2554 ( 2011 ) โครงการ หนึ่งร้านสร้างสรรค์ หนึ่งสถาบันสร้างสังคม ( One Dealer One School )
พ.ศ.2554 ( 2011 ) เอ.พี.ฮอนด้า ผนึกกำลังกับร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดตัวโครงการ “Honda One Dealer One School หนึ่งร้านสร้างสรรค์ หนึ่งสถาบันสร้างสังคม” ให้การสนับสนุนเยาวชนและคณาจารย์อาชีวะศึกษาทั่วประเทศมูลค่ามากกว่า 25 ล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านทักษะวิศวกรรมยานยนต์และส่งเสริมการขับขี่ปลอดภัยในสถานศึกษา โดยมอบหมายร้านผู้จำหน่ายฯในจังหวัดเป็นผู้ดูแลอย่างน้อย 1 ร้านต่อ 1 สถาบันทั้งในด้านการฝึกอบรม ครู, นักเรียน, การสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน รวมถึงการจัดตั้งชมรมขับขี่ปลอดภัยในโรงเรียน และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าฝึกงานที่ร้านผู้จำหน่ายฯ เพื่อพัฒนาทักษะก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งปีแรก พ.ศ. 2554 นี้ จะเริ่มให้การสนับสนุนสถานศึกษา 93 แห่งใน 77 จังหวัด ผ่านทางร้านผู้จำหน่าย 85 แห่ง ทำให้ยอดจำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มเป็น 197 แห่ง และในปีที่ 3 มีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมอีก 117 แห่ง รวม 3 ปี 314 แห่ง
สนับสนุนสร้างศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยในสถานศึกษา
เพื่อเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา อย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการ บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยนยนต์ในพื้นที่ สนามศูนย์เรียนรู้ขับขี่ปลอดภัย ในสถานศึกษาของอาชีวศึกษา รวมทั้งมอบรถจักรยานยนต์จำนวน 2 คันพร้อมสื่อการเรียนการสอน เป็นมูลค่า 208,930 บาท และการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง บริษัท เอ.พี ฮอนด้า จำกัด และ ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ มีความยินดีที่จะร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมีเจตจำนงที่จะยกระดับจิตสำนึกการขับขี่ปลอดภัย และส่งเสริมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ซิ่งในปี 2558 จะดำเนินการสร้างเพิ่มอีก 10 แห่ง โดยจะสร้างให้ครบ 77 จังหวัด ทั่วประเทศ
โครงการ Honda Student Safety Riding Skill Contest
โครงการ แข่งขัน Honda Student Safety Riding Skill Contest ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง One Dealer One School วัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้แก่นักเรียน นักศึกษาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน ได้มีส่วนร่วมทดสอบและสนุกสนานท้าทายความสามารถ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการยกระดับมาตรฐานของศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัย และพัฒนาทักษะนักเรียนนักศึกษา ที่ผ่านการอบรมขับขี่ปลอดภัยของแต่ละศูนย์ รวมทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ครูฝึกประจำศูนย์รวมทั้งรักษามาตรฐานนี้ไว้เป็นแบบแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างศูนยฝึกขับขี่ปลอดภัยกับสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพและยกระดับการขับขี่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยทำให้อุบัติเหตุทางถนนในสถาบันอาชีวศึกษาลดลงได้ในระดับหนึ่ง จนถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ซึ่งการแข่งขันได้ผ่านมา 4 ปีแล้ว มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขัน 4,809 คน จาก 127 สถาบัน ซึ่งผู้ชนะเลิศอันดับ 1-3 ของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง จะได้เข้าร่วมการแข่งขัน Honda Safety Thailand Competition ณ ศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้ากรุงเทพ อีกด้วย

บริษัทฯ มีเจตนารมย์ที่จะตอบสนองผู้บริโภค ด้วยรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ และมีราคาเหมาะสม ซึ่งเจตนารมย์นี้ได้ผลักดันให้ฮอนด้าก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของประเทศไทย ด้วยอัตราครองตลาดมากกว่า 50% หรือเป็นตัวเลขยอดจำหน่ายโดยรวมเกือบ 1 ล้านคัน/ปี (รวมถึงการส่งออก)
สิ่งสำคัญที่สุดที่มุ่งมั่นอยู่ในเจตนารมย์ของฮอนด้านั้น ประกอบด้วยปรัชญาแห่งความพอใจ 3 ประการคือ
+ ความพอใจของลูกค้าจากการที่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ฮอนด้า
+ ความพอใจของลูกค้าจากการที่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ฮอนด้า และ
+ ความพอใจขององค์กร ในทุ่มเทการผลิตรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ให้เปี่ยมล้นด้วยคุณภาพ ซึ่งความพอใจทั้ง 3 ประการนี้ ต่างเชื่อมโยงและสนับสนุนซึ่งกันและกัน เสมือนกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จสูงสุด
การบรรลุซึ่งเป้าหมายของเรานั้นเป็นผลมาจาก เครือขายของศูนย์บริการและร้านตัวแทนจำหน่าย (C.S.I Shop) กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความชำนาญทั้งด้านการจัดการและการตลาด ที่ได้รับจากการอบรมและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนจากทางบริษัทฯ ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จที่งดงามเช่นปัจจุบัน

การขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ปัญหาจากการไม่สมดุลย์กัน ในเรื่องสังคมและการใช้รถจักรยานยนต์ กล่าวคือสังคมอาจมองว่ารถจักรยานยนต์ เป็นสิ่งอันตราย ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึง ธุรกิจการขายรถจักรยานยนต์ก็เป็นไปได้
ระบบการขอรับใบอนุญาตขับขี่รถ และความรู้ความสามารถของผู้ขับขี่ไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน อาทิ บางคนขับขี่รถได้แต่ขาดความรู้ด้านกฎจราจร ก็สามารถมาขอสอบทำใบอนุญาตได้ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ภาครัฐบาลเองก็ทราบถึง สาเหตุ และการแก้ไข แต่เนื่องจากยังขาดซึ่งงบประมาณ และบุคคลากร ตลอดจน อุปกรณ์ ต่างๆ จึงยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ ฮอนด้า เห็นว่าถ้าหากปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง ก็อาจจะประสบกับปัญหาอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้ว เคยประสพมาในอดีต
ขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อที่จะให้สังคมยอมรับในธุรกิจรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า จึงขอเป็นแกนนำในการสนับสนุน และร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม กล่าวคือ
กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย ดำเนินการควบคู่กัน ในธุรกิจจักรยานยนต์ กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย ร่วมดำเนินการร่วมกันกับภาครัฐอย่างจริงจัง ซึ่งกิจกรรมขับขี่ปลอดภัยที่จะร่วมกันดำเนินการนี้ เป็นการยกระดับในการดำเนินธุรกิจกรถจักรยานยนต์ และทำให้สังคมยอมรับ

เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย บริษัทฯ จึงได้ขอความร่วมมือกับร้าน C.S.I. Shop เพื่อจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น เซฟตี้ แรลลี่(Safety Rally) เพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการขับขี่อย่างปลอดภัย นอกจากนั้นในทุก ครั้งที่มีการตัดสินใจซื้อจากลูกค้า ทางร้าน C.S.I. Shop จะมอบหมายให้ครูฝึกสอนขับขี่ปลอดภัยประจำร้าน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้ในการขับขี่ปลอดภัยเบื้องต้น ก่อนจัดส่งรถแก่ลูกค้าเสมอ
ครูฝึกสอนขับขี่ปลอดภัยของฮอนด้า ล้วนได้รับการฝึกฝนและรับรองโดยศูนย์ฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย ซึ่งศูนย์ฯนี้เป็นศูนย์ฝึกแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน โดยศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นผลจากความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อที่จะเห็นความปลอดภัยบนท้องถนนเป้าหมายสำคัญของกิจกรรมที่ศูนย์ฯ จัดให้มีขึ้นนั้นคือ การเพิ่มจำนวนบุคลากรฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย เพื่อประจำยังร้าน C.S.I. Shop ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ทุกท่านได้ยังทั่วถึง นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังได้ฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและสาธารณชนทั่วไป
สำหรับหลักสูตรในการฝึกอบรมนั้น มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยบางหลักสูตรเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้น ซึ่งใช้เวลาฝึกอบรม 2 ชั่วโมง และบางหลักสูตรใช้เวลา 3 วัน
ด้วยความทุ่มเทในการทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทางบริษัทฯ ได้รับรางวัลจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการขับขี่ปลอดภัย
เราพยายามอยู่เสมอที่จะปรับการฝึกอบรม ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้นำเครื่องจำลองการขับขี่มาประจำที่ศูนย์ฝึก ซึ่งนับได้ว่าศูนย์ฝึกในประเทศไทยนี้ เป็นศูนย์ฝึกแห่งแรกของโลกที่มีการนำเครื่องจำลองการขับขี่มาใช้ นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น

บริษัทฯ ได้อุทิศตนในการขับขี่ที่จะสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคมไทย ดังนั้นเราจึงพยายามทุกวิถีทางในการช่วยเหลือสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีการรณรงค์ใช้น้ำมันลดควันขาว รวมถึงการรณรงค์ลดมลภาวะทางเสียง กิจกรรมเซฟตี้ แรลลี่ การฝึกการขับขี่ปลอดภัย และกิจกรรมที่สร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้แล้ว บริษัทฯ ยังได้เน้นกิจกรรมด้านอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการคิดค้น วิจัย และพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ให้มีการปล่อยค่าไอเสียต่ำและมีเสียงเครื่องยนต์ในระดับที่ต่ำ อีกทั้งยังมีการรีไซเคิลวัสดุต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต รวมถึงในร้าน C.S.I. Shop บางร้านได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่ามลพิษและเสียงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด กิจกรรมขับขี่ปลอดภัยฮอนด้าจะสำเร็จไปด้วยดี บรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ฮอนด้าตั้งใจได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านตัวแทนจำหน่ายฮอนด้า และสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ช่วยกันเผยแพร่กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย และข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ของฮอนด้าไปยังผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วประเทศได้ทราบถึงแนวทางและวัตถุประสงค์ของโครงการ เมืองไทยปลอดภัย (Safety Thailand) ของฮอนด้าอย่างถ่องแท้ บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด จึงใคร่ขอขอบคุณในความกรุณาจากท่านสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรมขับขี่ปลอดภัยของฮอนด้าอย่างสม่ำเสมอตลอดมา