A.P. Honda

Safety Thailand

A.P. Honda Youtube Channel A.P. Honda Facebook Fanpage
ติดต่ออบรม ติดต่ออบรม ติดต่ออบรม

คู่มือขับขี่ปลอดภัย

หน้าแรก คู่มือขับขี่ปลอดภัย
ความรู้ทั่วไปการขับขี่

1 เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขับขี่

หมวกกันน๊อค

  • ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายต้องสวมใส่หมวกกันน๊อคในขณะขับขี่ทุกครั้ง และหมวกกันน๊อคต้องมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก.
  • การสวมใส่หมวกกันน๊อคทุกครั้ง ต้องใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยปกติ
  • สามารถใช้นิ้วชี้สอดเข้าไปใต้คางได้พอดี

แว่นตากันลม

  • ผู้ขับขี่ควรที่จะสวมใส่แว่นกันลม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง,เศษหิน,ทราย,ตัวแมลง หรือน้ำฝนกระเด็นเข้าตาในขณะขับขี่

เสื้อแจ็กเก็ตและกางเกง

  • ควรสวมเสื้อแจ็กเก็ตที่มีสีสันสว่างสดใส เพื่อให้ผู้อื่นมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไกล
  • กางเกงควรเป็นกางเกงที่มีเนื้อผ้าที่หนา เช่น กางเกงยีนส์ ที่ไม่คับหรือหลวมเกินไป

ถุงมือ

  • ผู้ขับขี่ใส่ถุงมือสำหรับขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อให้กระชับในขณะขับขี่และป้องกันมิให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงที่มือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

รองเท้า

  • ควรสวมใส่รองเท้าบู๊ทหรือรองเท้าหุ้มส้นทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ไม่ควรสวมรองเท้าแตะในการขับขี่รถเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงบริเวณเท้าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

2. การใช้ขาตั้งข้างและการจูงรถจักรยานยนต์

2.1 วิธีการเก็บและใช้ขาตั้งกลาง

ก.การเก็บขาตั้งกลาง

  • ใช้มือทั้งสองข้างจับที่แฮนด์รถ อย่าให้หน้ารถหันไปด้านซ้ายหรือขวา
  • 2. ดันรถให้ไปข้างหน้าด้วยแขนทั้งสองข้างพร้อมกับใช้สะโพกด้านข้างดันรถไว้เพื่อมิให้ล้ม
  • ขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัวจากขาตั้งกลางให้ใช้มือขวาค่อยๆ บีบเบรกหน้าเพื่อช่วยป้องกันมิให้รถลื่นไถลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ข.ใช้ขาตั้งกลาง

  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์รถ มือขวาจับใต้เบาะด้านหลังรถ
  • รักษาตำแหน่งหน้ารถให้แฮนด์ตั้งตรงอยู่เสมอไม่หันไปทางซ้ายหรือขวา
  • เท้าขวาเหยียบลงบนคานของขาตั้งกลาง ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนคานตั้งทั้งตัว พร้อมกับใช้มือขวาที่จับอยู่ด้านหลังรถยกขึ้นในจังหวะเดียวกัน

ข้อควรระวังในการจอดรถโดยใช้ขาตั้ง

  • ควรเลือกพื้นถนนที่ราบเรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ และแข็งพอที่จะไม่ทำให้รถล้มลงได้
  • การใช้ขาตั้งกลางขณะที่รถเอียงหรือตั้งหน้ารถไม่ตรง จะต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ

วิธีใช้และเก็บขาตั้งข้าง

  • เลือกพื้นถนนที่แข็งเพื่อมิให้พื้นเกิดการยุบตัว
  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์มือขวาจับที่มือจับด้านหลังหรือจะใช้มือทั้งสองข้างจับยึดที่แฮนด์ด้านหน้าอย่างเดียวก็ได้ รักษาตำแหน่งรถให้ตั้งตรงใช้เท้าขวาถีบขาตั้งข้างลงมาจนสุด
  • ค่อยๆ เอียงรถช้าๆ จนกว่าขาตั้งข้างจะสัมผัสกับพื้นถนน จับแฮนด์รถหันไปทางซ้ายในตำแหน่งล๊อคคอรถ
  • ใส่เกียร์รถไปที่ตำแหน่งเกียร์1 เพื่อป้องกันรถลื่นไถล
    • ยกรถขึ้นจนกระทั่งปลายขาตั้งข้างพ้นจากพื้นถนน ตำแหน่งรถตั้งตรง
    • ใช้ปลายเท้าขวาเตะขาตั้งข้างขึ้นเก็บเข้าที่เดิม

2.2 การจูงรถ

ก. การจูงรถไปด้านหน้า

  • ใช้มือทั้งสองข้างจับที่แฮนด์มือขวาพร้อมที่จะใช้เบรคหน้าได้ตลอดเวลาเมื่อจำเป็น
  • รักษาตำแหน่งรถให้ตั้งตรง
  • ใช้ลำตัวแนบเข้ากับตัวรถดันมิให้ล้ม พร้อมกับออกแรงดันรถไปด้านหน้า

ข.การจูงรถรูปเลข 8

  • เมื่อต้องการจูงรถไปด้านซ้ายให้หันแฮนด์รถไปทางซ้าย เอียงรถเข้าหาลำตัวเล็กน้อย
  • เมื่อต้องการจูงรถไปด้านขวาให้หันแฮนด์รถไปทางขวาพร้อมกับใช้สะโพกดันรถไว้อยู่ตลอดเวลา

ค.การจูงรถถอยหลัง

  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์ มือขวาจับที่มือจับด้านหลัง
  • ค่อยๆ ดันรถไปทางด้านหลังช้าๆ ระวังอย่าให้หน้ารถส่ายไปมา

2.3 วิธีการยกรถเมื่อล้ม

กรณีรถล้มลงทางด้านซ้ายมือ

  • จับแฮนด์รถไปทางด้านขวา จนกระทั่งสุดในตำแหน่งล๊อคคอ
  • ใช้มือทั้งสองชข้างจับที่แฮนด์ทั้งสองข้าง มือขวาบีบคันเบรคหน้าเอาไว้
  • ค่อยๆ ยกรถขึ้นด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้เข่าและสะโพกแนบกับตัวรถ ค่อยๆ ดันรถขึ้นช้าๆ ในจังหวะเดียวกัน จนกว่ารถจะตั้งตรง
  • ใช้เท้าขวาเขี่ยขาตั้งข้างลง ค่อย ๆ เอียงรถจนกระทั่งปลายขาตั้งสัมผัสกับพื้นถนนอย่างมั่นคง

กรณีรถล้มทางด้านขวา

  • ให้เดินอ้อมไปทางด้านที่รถล้มแล้วเอาขาตั้งข้างกางออกให้สุด
  • จับแฮนด์รถหันไปด้านซ้ายและใช้วิธีการยกรถเช่นเดียวกันกับกรณีรถล้มทางด้านซ้ายมือ จนกว่าขาตั้งจะสัมผัสกับพื้นถนน

3. การตรวจเช็คก่อนการขับขี่

ขับขี่ควรหมั่นตรวจเช็ครถก่อนการขับขี่ทุกครั้ง รถต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานอยู่ตลอดเวลา
ควรสำรวจตัวรถและตรวจเช็คระบบที่สำคัญต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
และเพื่อความปลอยภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนอื่นๆ

ก. น้ำมันเชื้อเพลิง

  • การขับขี่ทุกครั้งต้องแน่ใจว่า มีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงพออยู่เสมอ

ข.น้ำมันหล่อลื่น

  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งที่น้ำมันเครื่องสกปรก

ค.ยาง

  • ควรตรวจเช็คแรงดันลมยางให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
  • ควรตรวจเช็คสภาพและการสึกหรอของยางอย่างสม่ำเสมอ

4. ท่าทางการขับขี่

ก. การขึ้นรถ - ลงรถ

การขึ้นหรือลงรถทุกครั้งให้ใช้มือขวาบีบคันเบรคหน้าไว้แล้วหันมองดูหลังจนแน่ใจว่า ไม่มีรถคันอื่นตามหรือวิ่งแซงมาเมื่อขึ้นหรือลงรถ ให้ใช้เพียงเท้าซ้ายยึดเป็นหลักให้มั่น จงจำไว้ว่า
เมื่อขึ้นหรือลงรถ ให้ใช้เพียงเท้าซ้ายยึดเป็นหลักให้มั่น จงจำไว้ว่า
  • อย่าหันหรือหมุนแฮนด์รถไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
  • ควรเอียงรถเข้าหาตัวผู้ขับขี่เล็กน้อย
  • ควรวางเท้าซ้ายของท่านให้มั่นคงลงบนพื้นถนน

ข. ตำแหน่งการนั่งขับขี่

การนั่งขับขี่รถในตำแหน่งที่ถูกต้องทำให้เกิดความ
  • คล่องตัวในการควบคุมรถ
  • มีการทรงตัวที่ดี
  • ทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ดี
  • ไม่เมื่อยล้าในขณะขับขี่ (ไม่ควรนั่งชิดด้านหน้าหรือหลังมากเกินไป)
  • ตามองตรงไปข้างหน้าไม่ก้มหรือเงย
  • วางไหล่ให้สบายๆ ไม่ยกหรือเกร็งจนเกินไป
  • ปล่อยแขนตามธรรมชาติไม่กางออก
  • จับแฮนด์ทั้งสองให้มืออยู่ระหว่างกึ่งกลางของมือจับพอดี และให้กระชับ ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
  • นั่งขับขี่รถในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการควบคุม
  • วางเท้าทั้งสองลงบนที่พักเท้า ให้ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า โดยที่ปลายเท้าขวา แตะเบาๆ อยู่คันเบรคหลัง และปลายเท้าซ้ายวางไว้ที่คันเปลี่ยนเกียร์ (อย่าสอดปลายเท้าทั้งสองไว้ด้านล่างคันเปลี่ยนเกียร์ และคันเบรคหลัง)
  • หัวเข่าเหยียดตรงไปข้างหน้า บีบกระชับให้พอดีๆ กับถังน้ำมัน (อย่ากางเข่าออกมาด้านซ้ายโดยเด็ดขาด)

5. การออกรถ, การหยุดรถ

ก. การออกรถี่

  • มองดูรถคันอื่นและผู้เดินถนนในกระจกมองหลัง
  • ใช้เท้าขวาวางบนพื้นถนนเพื่อพยุงรถไม่ให้ล้ม
  • หลังจากทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ตามขั้นตอนของการสตาร์ทหน้า 21 แล้วค่อยๆ บีบคลัทช์มาด้านหลังช้าๆจนสุด
  • เลือกใช้เกียร์หนึ่ง
  • ก่อนที่จะออกรถหันมองดูด้านเหนือไหล่ขวา ว่ามีรถคันอื่นวิ่งมาหรือไม่
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้เปิดไฟเลี้ยวขวา
  • ทิ้งน้ำหนักตัวไปที่เท้าซ้ายเท้าขวาวางไว้ที่คันเบรกหลัง
  • บิดคันเร่งช้าๆ ให้รอบเครื่องยนต์อยู่ที่ 2,000 - 3,000 รอบ/นาที แล้วหยุดค้างไว้
  • ค่อยๆ ปล่อยคันคลัทช์ช้าๆจนกว่ารถจะค่อยๆ เคลื่อนตัว(ในตำแหน่งนี้มือยังคงกำคันคลัชอยู่) การปล่อยคันคลัทช์ให้ทำงานเร็วเกินไปจะเป็น สาเหตุให้รถออกตัวกระตุกหรือเครื่องยนต์ดับ (ท่านอาจสังเกตโดยการฟังเสียงของเครื่อง ยนต์หรืออาการสั่นของรถได้)
  • ปิดสวิทซ์ไฟเลี้ยวหลังจากที่รถ ออกตัวเรียบร้อยแล้ว
  • บิดคันเร่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น
  • ปล่อยคันคลัทช์จนสุด

ข. การหยุรถ

  • ตรวจเช็คความปลอดภัย มองดูกระจกหลังด้านซ้าย เช็คความปลอดภัยจากรถคันอื่น
  • ให้สัญญานไฟ เปิดสัญญานไฟเลี้ยวซ้าย
  • เช็คความปลอดภัยและขับรถออกไปทางด้านซ้าย มองดูด้านหลังเหนือไหล่ซ้าย เพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่มีรถหรือคนเดินถนนด้านซ้ายผ่านไปมา แล้วค่อยเลี้ยวรถเข้าชิดขอบทางด้านซ้าย
  • เบาคันเร่ง คืนคันเร่งจนสุดและใช้กำลังเครื่องยนต์ เป็นตัวช่วยลดความเร็ว (Engine Brake)
  • เบรค บีบคันเบรคหน้าด้านขวาของแฮนด์และ ใช้เท้าขวาเหยีบที่คันเบรคหลังช้าๆ เบาๆ
  • เริ่มบีบคลัทช์ ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังทำการหยุดรถ จนกระทั่งรถหยุดสนิทเปลี่ยนเกียร์ไป ที่เกียร์หนึ่ง หรือเกียร์ว่างเมื่อจอดรถ
  • หยุดรถ ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังทำการหยุดรถ จนกระทั่งรถหยุดสนิทเปลี่ยนเกียร์ไป ที่เกียร์หนึ่ง หรือเกียร์ว่างเมื่อจอดรถ
ความรู้พื้นฐานการขับขี่
ในบทนี้จะเป็นการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการใช้และควบคุมรถอย่างต่อเนื่องและราบรื่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่รถในทุกๆ สภาวการณ์ของการจราจรบนท้องถนน ดังนั้นจึงไม่ควรจะเรียนรู้เฉพาะพื้นฐานการขับขี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ขับขี่ควรมีจิตสำนึกความปลอดภัยในขณะขับขี่ด้วย

1. การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล

ในขณะที่กำลังจะนำรถออกมาจากขอบทางด้านซ้ายของถนน สิ่งที่สำคัญอบย่างยิ่งที่จะต้องทำก็คือ ต้องควบคุมรถได้อย่างมั่นคง และออกรถได้จังหวะสอดคล้องกับสภาพการจราจรในขณะนั้น การออกรถ
  • เพื่อความปลอดภัย หันมองดูรอบๆ แล้วเปิดไฟสัญญาณเลี้ยวขวา
  • เลือกใช้เกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์1
  • หันมองผ่านเหนือไหล่ขวาตรวจเช็คความปลอดภัยอีกครั้ง
  • เริ่มออกรถไปทางขวาช้า ๆ
  • เมื่อออกรถเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดไฟสัญญาณเลี้ยวขวา

ข้อแนะนำในการออกรถ

  • การออกรถต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จงระมัดระวังอย่าให้รถคันอื่นต้องหลบหรือลดความเร็วลงในขณะที่ท่านนำรถออกจากข้างทาง
  • ระวัง! อย่าออกรถด้วยการเลี้ยวออกมาทางด้านขวาอย่างกระทันหัน

การออกรถอย่างรวดเร็วและการเร่งความเร็ว

  • หมั่นพยายามฝึกฝนหาความชำนาญในการออกรถอย่างรวดเร็ว ด้วยการบิดคันเร่งและปล่อยคลัทช์อย่างรวดเร็วให้สัมพันธ์เวลาเดียวกัน จนกว่าจะเกิดความคล่องตัวในการใช้คลัทช์ได้อย่างดี เพราะบางครั้งการขับขี่รถบางครั้งการขับขี่รถต้องให้สอดคล้องกับสภาพการจราจรในช่วงเวลาการจราจรติดขัดหรือในชั่วโมงเร่งด่วน
  • ฝึกการใช้คลัทช์สลับกันไปมาเพื่อช่วยในการปรับลดความเร็วในขณะขับขี่รถเข้าทางแยกหรือหักมุมถนน

2. การเปลี่ยนเกียร์

ก. วิธีเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์สูงกว่า

จากตารางด้านล่างนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่า เมื่อไรควรจะเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่า การที่จะตัดสินใจเปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่านั้นปัจจัยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์จราจรรอบๆ ตัว, ความเร็วที่กำลังใช้อยู่ และสมรรณะของเครื่องยนต์
การเปลี่ยนรถให้ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่าโดยไม่เร่งเครื่องยนต์ อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการสั่นหรือกระตุก และถ้าหากการใช้เกียร์ต่ำในขณะที่วิ่งรถวิ่งด้วยความเร็วสูง ก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและมีเสียดังเนื่องจากเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วสูง ข้อแนะนำ ควรเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมและสัมพันธ์กันกับความเร็วของรถด้วยวิธีการดูอาการสั่นหรือฟังสียงของเครื่องยนต์

ข. วิธีเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ต่ำกว่า

  • จากตารางด้านบนนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่า เมื่อไรควรจะเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำกว่า การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ดังต่อไปนี้
  • เมื่อลดความเร็วลง
  • ขณะขับขี่รถบนทางสูงชันหรือขณะที่แซงรถคันอื่น
  • ต้องการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกในขณะขับขี่บนถนนที่เปียกลื่นหรือขับขี่รถลงเขา

3. การเบรค

ประโยชน์ของการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อลดความเร็วของรถ
ในขณะที่เบาคันเร่ง เครื่องยนต์จะค่อยๆ ช้าลง ล้อหลังซึ่งทำงานสัมพันธ์กันกับเครื่องยนต์จะค่อยๆ หมุนช้าลงไป ส่งผลให้ความเร็วของรถช้าลงไปด้วย การลด ความเร็วของรถด้วยวิธีนี้ เรียกว่า การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค (Engine brake) และถ้าต้องการจะลดความเร็วของรถให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำกว่า การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคด้วยวิธีนี้สำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องการจะชะลอคลอความเร็ว ในขณะที่ขับขี่รถเข้าไปบนถนนที่เปียกกลื่น, ขณะขับขี่รถลงจากลงที่ลาดชัน, หรือเมื่อต้องการจะลดความเร็วของรถในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง อย่างไรก็ตาม จงจำไว้เสมอว่าการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคจะไม่เป็นผล ถ้ามือซ้ายยังบีบคลัทช์อยู่

การใช้เบรคหน้าและเบรคหลังอย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมให้รถหยุดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จงพยายามฝึกฝนเทคนิคที่จะทำให้คุณหยุดรถได้ในระยะทางสิ้นสุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่เสียการทรงตัว

ก. วิธัใช้เบรคหน้า

เบรคหน้าเป็นเบรคที่มีประสิทธิภาพในการหยุดรถได้ดี กว่าเบรกหลัง การใช้เบรกหน้าสามารถกระทำได้โดยค่อยๆ บีบคันเบรคด้วยมือขวา ถ้าปรากฏว่าล้อหน้าถูกล๊อคและรถ เริ่มมีอาการลื่นไถลในขณะที่ใช้เบรคหน้าให้รีบปล่อย คันเบรคทันที่แล้วค่อยๆควบคุมรถให้ตั้งตรงเนื่องจาก เบรกหน้าใช้บังคับด้วยมือจึงควบคุมได้ดีกว่าลองเริ่มเบรค เบาๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วค่อยๆ เพิ่มแรงบีบมากขึ้นๆ จนกว่ารถจะหยุด

ข. วิธีใช้เบรคหลัง

เบรคหลังสามารถกระทำได้โดยใช้เท้าขวาเหยียบลงบนคันเบรค การใช้เบรกหลังอย่างเดียวไม่สามารถที่จะหยุดรถได้ในระยะสั้นๆ เพราะเบรกหลังมีประสิทธิภาพในการหยุดรถได้น้อยกว่าเบรคหน้า และถ้าหากท่านใช้เบรคหลังเพียงอย่างเดียวอย่างรุนแรง ก็จะทำให้ล้อหลังล๊อค เป็นเหตุทำให้รถลื่นไถลหรือล้มลงได้ พยายามใช้เบรกหลังเบาๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มแรงเบรกทีละน้อย

ข้อแนะนำในการใช้เบรคอย่างถูกวิธี

  • คืนคันเร่งแล้วใช้เบรค (วิธีนี้จะทำให้เกิดการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค)
  • ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังพร้อมๆ กัน (จะสามารถหยุดรถได้ด้วยระยะทางสั้นๆ และมีประสิทธิภาพ)
  • การใช้เบรคควรใช้ในขณะที่รถอยู่ในตำแหน่งตั้งตรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างกระทันหันหรืออย่างรุนแรง
  • การใช้เบรคด้วยวิธีย้ำเบรคก่อนหยุดรถจะช่วยหลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างรุนแรงและช่วยเตือน ให้ผู้ขับขี่ด้านหลังเพิ่มความระมัดระวังขึ้นมาก เพราะขณะที่ใช้เบรคสัญญาณไฟเบรคจะปรากฏที่ด้านหลังรถทุกครั้งที่ใช้เบรค
  • บนพื้นผิวถนนที่เปียก ระยะทางการหยุดรถต้องยาวกว่าพื้นถนนแห้ง จงหลีกเลี่ยงการเบรคอย่างกระทันหันและรุนแรง เพราะจะทำให้รถเสียหลักลื่นไถลหรือล้มลงได้ การใช้เบรคบนถนนที่เปียกต้องตั้งตัวรถให้ตรงอยู่เสมอหลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างรุนแรง และควรขับขี่รถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากกว่าปกติพอสมควร

4. การควบคุมความเร็ว

การควบคุมความเร็วรถให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมิใช่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรเท่านั้น แต่สภาพถนนยังเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย การฝึกฝนเปลี่ยนเกียร์ขึ้น - ลงให้เกิดความชำนาญ, การ ฝึกใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคพร้อมๆ กับการใช้เบรคทั้งสองอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้การขับขี่รถเป็นไปด้วยความนุ่มนวลและปลอดภัย

ก. การควบคุมความเร็วบนถนนทางตรง

  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัยตามความเหมาะสมของสภาพการจราจร
  • อย่าเพิ่มหรือลดความเร็วโดยไม่จำเป็น
  • ขับขี่รถด้วยความระมัดระวังไม่กีดขวางการจราจร

ข. การใช้คลัทช์ขณะขับขี่ที่ความเร็วต่ำ

  • เลือกใช้เกียร์ 1 หรือ 2 พร้อมกับบิดคันเร่งเล็กน้อย ควบคุมความเร็วด้วยการบีบคลัทช์ช่วยประมาณของปกติ เพื่อช่วยมิให้เครื่องยนต์ดับหรือเกิดอาการกระตุก
  • พยายามควบคุมให้ตรง อย่าเสียการทรงตัว กรณีที่ขับขี่รถที่ความเร็วต่ำมากๆ เครื่องอาจจะสั่นหรือกระตุก ให้บิดคันเร่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยพร้อมกับบีบคลัทช์

ค. การควบคุมความเร็วขณะเข้าโค้ง

  • ลดความเร็วก่อนที่จะเข้าโค้ง
  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัยให้คงที่ขณะเข้าโค้ง
  • ค่อยๆ เพิ่มความเร็วในขณะที่รถกำลังจะวิ่งผ่านทางโค้งอย่างนุ่มนวล และต้องมั่นใจว่าปลอดภัย
  • เร่งความเร็วเต็มที่เมื่อรถวิ่งผ่านพ้นทางโค้งแล้ว

5. การใช้เบรก

ก. วิธีหยุดรถที่จุดเบรค

  • ลดความเร็วลงก่อนถึงเป้าหมายที่จะเบรค เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เบรคหลายๆ ครั้ง (ควรใช้เบรคหน้า - เบรคหลัง และเครื่องยนต์ช่วยเบรคพร้อมๆ กันเพื่อหยุดรถได้ตามเป้าหมายที่กำหนด)
  • หยุดรถให้ปลายสุดของล้อหน้าสัมผัสกับจุดเบรคที่กำหนดให้หยุด
  • เปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ 1 ก่อนที่จะหยุดรถ
  • เมื่อรถหยุดนิ่งแล้วให้ใช้เท้าซ้ายวางลงบนพื้น พร้อมกับบีบคลัทช์ด้วยมือซ้ายจนสุด

ข. การเบรคอย่างกระทันหัน

ควรฝึกฝนการเบรคอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยใช้ระยะทางในการเบรคให้สั้นที่สุดและในกรณีที่ต้องเบรคอย่างฉุกเฉิน เช่น คนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดหรือมีรถวิ่งตัดหน้าอย่างคาดไม่ถึง

ค. ข้อแนะนำในการใช้เบรคอย่างกระทันหัน

  • ควบคุมรถให้ตั้งตรง
  • ทำการเบรครถอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ใช้เบรคหน้ามากกว่าเบรคหลัง ระวังให้ล้อล๊อค
  • รักษาท่าทางการขับขี่ให้ถูกต้อง ในขณะที่เบรคอย่างรวดเร็ว
    • เข่าทั้งสองหนีบชิดกับถังน้ำมัน
    • ศอกทั้งสองแบนชิดลำตัว
    • มือทั้งสองข้างจับแฮนด์ให้กระชับ งอข้อมือเล็กน้อย ลักษณะเตรียมพร้อมที่จะรับน้ำหนักตัวเอาไว้ไม่ให้ถลำไปด้านหน้า
  • บีบคลัทช์ให้สุดก่อนที่จะหยุดรถ แล้ววางเท้าซ้ายบน

6. การเข้าโค้ง

6.1 ท่าทางการขับขี่และการมองขณะเข้าโค้ง

ก. ท่าทางการขับขี่

  • การเอียงตัว ควรอียงตัวไปในทิศทางเดียวกันกับตัวรถ ซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่จะต้องเอียงตัวตามไปในทิศทางของทางโค้ง
  • ศรีษะตั้งตรง อย่าเอียงไปทิศทางเดียวกับรถ
  • ห้ามเอียงรถมากจนเกินไป
  • เท้าทั้งสองวางอยู่บนที่พักเท้าตลอดเวลา

ข. การมอง

  • มองไกลไปข้างหน้าตรงจุดที่ต้องการจะไป
  • ห้ามก้มมองลงที่พื้นหรือก้มหน้า

6.2 การเข้าโค้งและการเอียงตัว

โดยปกติในขณะที่รถไปบนทางโค้งผู้ขับขี่จะต้องเอียงตัวรถไปในทางทิศเดียวกันกับทางโค้งที่จะไปข้างหน้า เรา เรียกอาการเช่นนี้ว่า "การเอียงรถ" (Banking)
  • ทำนองเดียวกับผู้ขับขี่จะต้องเอียงตัวในทิศทางเดียวกันกับตัวรถด้วย
  • เมื่อขับขี่รถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ควรจะเออียงตัวรถให้เหมาะเพื่อสร้างสมดุลย์กับแรงหนีศูนย์กลาง(centrifugal force) ที่เกิดขึ้น
  • ถ้าหากท่านเอียงรถมากเกินไปก็จะทำรถเสียหลักลื่นไถลและล้มลงได้
  • เมื่อขับขี่รถเข้าโค้งที่ง่ายๆ หรือใช้ความเร็วช้าๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอียงตัวรถมากเกินไป

ข้อแนะนำในการเข้าโค้ง

  • ลดความเร็วลงก่อนที่จะเข้าโค้ง
  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัย และเริ่มเอียงตัวรถให้ทำมุมที่พอเหมาะกับสภาพของโค้งถนน
  • ค่อยๆ เร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวลเมือรถเริ่มผ่านโค้ง เพื่อช่วยพยุงรถให้ตั้งตรง
  • โดยปกติทั่วๆ ไปจะไม่มีการใช้เบรคขณะที่รถอยู่ในโค้ง แต่ถ้าจำเป็นต้องชะลอความเร็วลงขณะอยู่ในโค้งควรใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค (Engine Brake) พร้อมๆ กับใช้เบรคหน้าช่วยเพียงเล็กน้อย
  • เมื่อเข้าโค้งบนถนนที่เปียกหรือลื่น ควรเข้าโค้งอย่างช้าๆ ห้ามเอียงรถมากเกินความจำเป็น

7. การทรงตัวที่ความเร็วต่ำ

7.1 วิธีการขับขี่บนไม้กระดานแคบ

ในขณะขับขี่รถด้วยความเร็วต่ำ จะทำให้เกิดเสียการทรงตัว รถส่ายไปมาได้ง่าย ในบทนี้จะเรียนรู้ถึงวิธีการทรงตัวในขณะที่ขับขี่รถด้วยความเร็วต่ำโดยทดสอบบนไม้กระดานแคบๆ
  • หยุดรถก่อนจะถึงไม้กระดานแคบ ตั้งล้อหน้าให้ตรง
  • เลือกให้เกียร์ 1 ในการออกรถ ทันทีที่ ล้อหน้าอยู่บนไม้กระดาน ค่อยๆ ควบคุมรถให้ล้อหน้าตั้งตรง
  • ขับขี่ด้วยความเร็วที่คงที่ช้าๆ
    • พยายามควบคุมรถให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดย ใช้ส่วนบังคับ เช่น คัน เร่ง, เบรคหลังและคลัทช์ ให้สัมพันธ์กัน
    • แนบเข่าทั้งสองข้างไว้กับถังน้ำมัน ถ้ารถเริ่มส่ายไปทางซ้ายหรือ ทางขวาให้รีบแก้ไขด้วยการบังคับ แฮนด์ให้ตรงหรือโยกตัวขึ้นเพื่อถ่ายน้ำหนักให้สมดุล
    • สายตามองตรงไปข้างหน้า

7.2 วิธีขับขี่ในทางคับแคบ

ต้องคำนึงถึงขนาดของตัวรถและศึกษาเส้นทางเสียก่อนว่า ล้อหน้าและล้อหลังของรถจะสามารถไปในช่องทางคับแคบนั้นได้หรือไม่ในขณะที่รถเลี้ยวไปมา
  • ก. คาดคะเนขนาดของตัวรถว่าสามารถที่จะขับขี่ผ่านไปในช่องทางแคบๆ ทั้งสองข้างนั้นได้หรือไม่
  • ข. ขณะขับขี่ในทางคับแคคดเคี้ยว โดยมีเครื่องหมายอยู่ที่ล้อทั้งสองข้าง จะแสดงถึงความแตกต่างของแนววิ่งของล้อหน้าและล้อหลัง

7.3 การทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง

ขณะขับขี่ผ่านทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของผู้ ขับขี่กับรถ และการทรงตัว ฝึกฝนซ้ำๆ ตั้งแต่ความเร็ว 10 กม. /ชม. จนถึง 30 กม. /ชม.จนมั่นใจว่าสามารถบังคับคันเร่งและห้ามล้อได้ รู้จักการเอียงไปทางซ้ายหรือขวาและการตั้งรถตรงทั้งหมดนี้จะช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับขี่อย่างปลอดภัยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  • ตามองตรงไปที่กรวยยาง แถวที่ 2 และ 3
  • ควบคุมรถให้ตั้งตรง
  • เริ่มเอียงตัวรถไปทางซ้าย
  • บิดคันเร่งเพื่อให้รถเริ่มทรงตัวตั้งตรง
  • ตั้งรถตรงและผ่อนคันเร่ง
  • เอียงรถไปทางขวา

8. การทบทวนข้อปฏิบัติ

ให้ผู้ขับขี่ทำการทบทวนโดยรวมข้อปฏิบัติในบทที่หนึ่งและบทที่สอง เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญในการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย ควรตรวจสอบรายการต่อไปนี้ว่า ท่านมีความสามารถทำได้ครบถ้วน และถูกต้องหรือไม่
  • ท่าทางการขับขี่ของท่านถูกต้องหรือไม่
  • ท่านออกรถอย่างถูกต้องโดยปราศจากความยุ่งยากหรือไม่
  • ท่านสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ตามต้องการด้วยความเรียบร้อยหรือไม่
  • ท่านสามารถควบคุมการใช้เบรคได้ดีหรือไม่
  • ท่านสามารถหยุดรถได้ทันท่วงทีหรือหยุดรถขณะคับขันได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • ท่านลดความเร็วก่อนเข้าทางโค้งและขับขี่ผ่านทางโค้งโดยท่าทางการขับขี่ที่ถูกต้องหรือไม่
  • ท่านสามารถขับขี่บนไม้กระดานแคบและทางที่คดเคี้ยวมีสิ่งกีดขวางได้โดยง่ายดายหรือไม่
หากท่านติดขัดหรือหรือไม่สามารถทำได้อย่างถูกต้องในข้อใดข้อหนึ่ง จงพยายามหมั่นฝึกฝนให้บ่อยครั้งในหัวข้อนั้น จนกว่าท่านจะมีความรู้สึกว่าทำได้อย่างคล่องแคล่ว และถูกต้องแล้ว
การฝึกฝนขับขี่ให้ถูกต้อง
ในบทที่ 3 ผู้ขับขี่ต้องรวบรวมข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ผ่านมาทำการฝึกฝนเพื่อ เพิ่มความชำนาญในการขับขี่ นอกจากนั้นควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยและทัศนคติที่ดีต่อกันในการขับขี่อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะสามารถใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย

1. ผู้ขับขี่ต้องเคารพกฎจราจรเสมอ

ท่านต้องหมั่นฝึกฝนปฏิบัติตามแนวทางที่เรียนมาอย่างเป็นแบบแผน บทเรียนในภาคทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้เกิดความชำนาญในการขับขี่อย่างปลอดภัย ทั้งยังต้องมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
  • ช่องทางเดินรถ
  • ป้ายบังคับ, ป้ายเตือน
  • ไฟสัญญาณ และเครื่องหมายจราจร
  • การเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
  • การขับขี่ผ่านทางร่วมทางแยก
  • เส้นเครื่องหมายบนพื้นทาง
  • การขับขี่รถในวงเวียน

2. การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย

ต้องระลึกไว้เสมอว่าการขับขี่รถที่มีคนซ้อนท้ายต้องอาศัยความชำนาญมากกว่าการขับขี่คนเดียว การเดินเครื่องและลักษณะท่าทางจะแตกต่างกันไปหลายประการ ดังนั้นจึงต้องการความระมัดระวังมากขึ้นในการขับขี่

การบรรทุกผู้โดยสาร

  • มือ(ผู้โดยสาร) คนซ้อนท้ายต้องกอดเอวผู้ขับขี่
  • ส่วนบนของร่างกาย คนซ้อนท้ายต้องนั่งชิดด้านหลังของผู้ขับขี่
  • เท้า คนซ้อนท้าย ต้องวางเท้าบนที่พักเท้าหลัง
  • เข่า คนซ้อนท้ายต้องนั่งบีบเข่าให้แนบสะโพกผู้ขับขี่
** ผู้ขับขี่จะเคลื่อนรถได้เมื่อแน่ใจว่าคนซ้อนท้ายนั่งที่เรียบร้อยแล้ว วิธีปฏิบัติในการขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย

ก. การขับขี่ทั่วไป

  • รถอาจจะส่ายไปมา แล่นช้า หรือเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว ต้องเว้นที่ว่างให้พอเพียงระหว่างตัวเราและยวดยานทั้งด้านขวาและด้านซ้าย ไม่ควรเปลี่ยนทิศทางในทันทีทันใด
  • การกระทำใดๆ โดยฉับพลันอาจก่อให้เกิดความสับสนและอันตราย ผู้ขับขี่ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย

ข. การเข้าโค้ง

  • เนื่องจากรถมักจะหลุดออกจากโค้ง จึงควรลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง ผู้ขับขี่ควรขับเข้าโค้งช้ากว่าตอนที่ขับคนเดียว
  • ผู้โดยสารควรเอียงตัวไปในทิศทางเดียวกันกับรถ

ค. การเบรค (การหยุดรถ)

  • ไม่ควรหยุดรถในระยะใกล้ หรือกระชั้นชิดเกินไป
  • ควรหยุดรถทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าพอสมควร
  • ควบคุมเบรค และเบรคอย่างนุ่มนวล
  • เมื่อผู้ขับขี่เบรคอย่างกระทันหัน น้ำหนักของผู้โดยสารจะทับลง (จะเกิดแรงส่ง) มาบนหลังผู้ขับขี่
  • ยกหัวเข่าสูงขึ้นและแนบกับตัวรถเพื่อป้องกันมิให้สะโพกเคลื่อนไปข้างหน้า

3. การขับขี่ตามสภาพการจราจรและสภาพถนนต่างๆ

ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ฝึกฝนมาจากบทเรียนในภาคทฤษฎี สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้เกิดนิสัยการขับขี่ที่ปลอดภัยบนสภาพถนนทุกรูปแบบ สิ่งสำคัญต่อไปนี้ ผู้ขับขี่ทุกคนพึงนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัย
  • การปรับระดับความเร็ว
  • ระยะห่างในการหยุดรถ
  • การขับแซง
  • การแล่นแซง และการถูกแซง
  • การขับขี่ในเวลากลางคืน
  • การขับขี่ในขณะฝนตก

4. บทสรุป

ผู้ขับขี่ต้องนำเอาบทเรียนทั้ง 3 บทที่ผ่านมานี้ มารวบรวมเพื่อฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้ครบถ้วน และต้องหมั่นฝึกฝนในบทเรียนที่ท่านคิดว่ายังไม่สามารถทำได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง การขับขี่รถที่ดีและปลอดภัยมิใช้แต่เพียงแค่ขับขี่รถได้ชำนาญอย่างเดียวเท่านั้น แต่การศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎและเครื่องหมายจราจรอย่างเครงครัดนั้น สามารถทำให้ท่านผู้ขับขี่เป็นนักขับขี่รถที่ดีได้ด้วยประการทั้งปวง โปรดอย่างลืมว่าการขับขี่รถอย่างมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกความปลอดภับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันเท่านั้นที่จะทำให้ท่านขับขี่รถได้อย่างมีความสุขมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยกับตัวท่านเอง และบุคคลอื่นผู้ร่วมทาง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

ความหมายของคำที่ควรทราบ

  • การจราจร ความหมายว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า คนที่ขี่ จูงหรือไล่ต้อนสัตว์
  • ทางร่วมแยก หมายความว่า พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่สองสายตัดผ่านกัน รวมบรรจบกัน หรือติดกัน
  • เขตปลอดภัย หมายความ พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินทางข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
  • ที่คับขัน หมายความว่า
    ทางที่มีจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ร่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย หรือเกิดความเสียหายแก่รถหรทอคนได้ง่าย รถยนต์ หมายความว่า รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล ผู้ขับขี่
    หมายความว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์ขนส่งตามกฎหมายขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ
  • สัญญาณจราจร หมายความว่า สัญญาณใดๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น
  • เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใดๆ ที่ติดตั้งไว้ หรือให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

การใช้รถ

ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง

1. ห้ามนำรถต่อไปนี้มาใช้ในทาง

  • รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัย แก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชน มาใช้ในทางเดินรถ
  • รถที่ไม่ได้ติดแผ่นป้ายทะเบียน
  • รถที่เกิดเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
  • รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง เว้นแต่ (1) รถที่ใช้ในราชการสงคราม (2) รถที่ใช้ในราชการตำรวจ (3) รถที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรี่

2. รถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมีหรือเสียงดังเกินที่กฎมายกกำหนด เช่น รถที่มีดังเกิน 85 เดซิเบล เอ หรือรถที่มีควันดำเกิน 50 เปอร์เซ็นต์

การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณ

  • ในเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดเจนภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้ายรถ (ไฟส่องสว่าง) ดังนี้
    • เปิดไฟสูงเมื่อไม่มีรถสวนมา
    • เปิดไฟต่ำเมื่อมีรถสวนมา
  • รถยนต์หรือจักรยานยนต์ต้องใช้เสียงสัญญาณแตรและให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
  • ห้ามผู้ขับขี่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร
    • การใช้เสียงสัญญาณจะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุนั้นแต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้
  • รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ขณะขับรถอยู่ในทางเดินรถหรือในขณะจอดรถอยู่ในทางเดินของรถหรือไหล่ทาง ในขณะที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ผู้ขับขี่ต้องจุดไฟฟ้าสีแดง
    หรือเวลากลางวันต้องติดธงแดงไว้ที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกนั้นให้มองเห็นได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 150 เมตร

สัญญาณและเครื่องหมายจราจร

  • ผู้ขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
    • สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดหลังเส้นให้รถหยุด เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณจราจรสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด" เว้นแต่ผู้ขับขี่ได้เลยเส้นให้หยุดไปแล้วให้เลยไปได้
    • สัญญาณจราจรไฟแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดง ที่มีคำว่า "หยุด"ให้ผู้ขับขี่รถหยุดหลังเส้นให้รถหยุด
    • สัญญาณจราจรไฟเขียว หรือเครื่องหมายจราจรสีเขียวที่มีคำว่า "ไป" ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
    • สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียว ชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่ขับขี่ขับรถเลี้ยวหรือตรงไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้
    • สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีแดง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดเมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางจราจรแล้ว จึงขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
    • สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีเหลืออำพัน ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
    • สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรถกากบาท เฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถใดห้ามผู้ขับขี่รถในช่องเดินรถนั้น
    • สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปลูกศร อยู่เหนือช่องเดินรถใดให้ผู้ขับขี่รถในช่องเดินรถนั้นขับผ่านไปได้
  • ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร ที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง หยุดรถแต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนลงข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้าให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอ ยู่ทางด้านหลัง ขับผ่านไปได้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่บนนั้นแล้วโบกผ่านศรีษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับผ่านไปได้้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไประดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
    • เมื่อพนักงานจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนลงตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นโบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานจ้าหน้าที่ขับผ่านไปได้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของเจ้าหน้าที่พนักงานที่ต้องหยุดรถ
  • ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีดังต่ อไปนี้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที่
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกันให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้

การให้สัญญาณด้วยมือและแขน

  • เมื่อจะลดความเร็วของรถ ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
  • เมื่อจะหยุดรถ ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
  • เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือข้าง หน้าหลายๆ ครั้ง
  • เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางขวา ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
  • เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายๆ ครั้ง

การใช้ไฟสัญญาณของผู้ขับขี่

  • เมื่อจะหยุดรถผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟสีแดงที่ท้ายรถ
  • เมื่อจะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือแซงรถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอำพันที่ติด อยู่หน้าและท้ายรถหรือ เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
  • เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า ผู้ขับขี่ต้อง ให้สัญญาณไฟยกเลี้ยวสีเหลืองอำพัน หรือไฟกะพริบสีแดงหรือสีเหลือง อำพันที่ติดอยู่ท้ายรถทางด้านซ้ายของรถ
  • ผู้ที่จะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นแซงเพื่อขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องทางเดินรถลดความเร็วหยุดรถ หรือจอดรถ ต้องให้สัญญาณ ด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณ ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
  • ผู้ขับขี่ต้องใช้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณ ก่อนที่จะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถลดความเร็วของรถ ลดความเร็ว หยุดรถ หรือจอดรถ เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร

การขับรถแซงและผ่านขึ้นหน้าคันอื่น

  • ในทางเดินรถที่ไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ผู้ขับขี่ประสงค์จะแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่น ต้องให้สัญญาณกะพริบไฟหน้าหลายๆ ครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวขวาหรือให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่คันหน้าให้สัญญาณตอบ (ยกไฟเลี้ยวที่ติดอยู่ด้านซ้ายของรถหรือให้สัญญาณด้วยมือและแขน โดยการยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอ ระดับไหล ่และโบกมือไปข้างหน้าหลาย ๆ ครั้ง)
  • การแซงต้องแซงด้านขวา
  • ผู้ขับขี่จะแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นด้านซ้ายได้ กรณีต่อไปนี้
    • รถที่กำลังแซงจะเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
    • ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งช่องทางเดินรถไปในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
  • ห้ามขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่น ในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อรถกำลังขึ้นทางลาดชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง
    • ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางเข้า ทางร่วมแยก วงเวียน หรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
    • เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
    • เมื่อที่เข้าที่คับขัน หรือ เขตปลอดภัย
  • เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันหลังจากผู้ขับรถที่มีความเร็วช้าหรือใช้ความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่นที่ขับขี่ ในทิศทาง เดียวกันต้องยอมให้รถที่มีความเร็วสูงกว่า ผ่านขึ้นหน้าและผู้ขับขี่ที่ถูกขอทางต้องปฏิบัติดังนี้
    • ให้สัญญาณมือและแขนโดยยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพันที่ติดทางด้านซ้ายของรถ
    • ลดความเร็วของรถลง
    • ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถเพื่อให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย

การหยุดและการจอดรถ

  • การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณตามที่ กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะหยุดหรือจอด ได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางจราจร
  • ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือ ไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
  • การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้นผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อไว้
  • การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
  • ในกรณีเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขับข้อจนต้องจอดรถในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทาง เดินรถโดยเร็วที่สุด

ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ

  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเมืองเทศบาล ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถยนต์อื่นนอกจากข้อ 3 ขณะลากจูงรถพวง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนัก รถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถยนต์สามล้อบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
  • รถยนต์อื่นนอกจากข้อ 1.และข้อ 2.(รถเก๋ง) หรือรถจักรยานยนต์ให้ขับในเขตกรุงเทพ เมืองพัทยา หรือเทศบาล ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    • ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตรายหรือเขตให้กลับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วและ เพิ่มความระมัดระวัง
    • ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ขับไม่เกินที่กำหนด ไว้ในเครื่องหมาย
    • ผู้ขับขี่จะต้องเลี้ยวให้รถคันอื่นแซงหรือผ่านขึ้นหน้า จอดรถหยุดรถ กลับรถหรือเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้ามเส้นให้หยุดรถ วงเวียน หรือขับรถบนเนินเขา บนสะพาน ที่เชิงสะพาน ที่แคบ ทางโค้งทางลาด ที่คับขัน ที่มีหมอก ฝน ฝุ่น ควัน จนทำให้ไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร ผู้ขับขี่ต้องลด ความเร็วในลักษณะที่จะให้เกิดความปลอดภัย

การขับผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน

  • เมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงทางร่วมทางแยกและถ้าไม่มีเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
    • ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถที่มีอยู่ในทางร่วมทางแยกผ่านไปก่อน
    • ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้าน ซ้ายมือขอตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิ์ขับผ่านไปก่อน
    • ถ้าสัญญาณจราจรไฟเขียว ปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่มทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถ ผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถ ที่หลังเส้นหยุดจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้นทาง ร่วมทางแยกไปได้
  • ผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียนซึ่งมิได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่น ต้องให้สิทธิแก้ผู้ขับรถ อยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน
  • ผู้ขับขี่ขัยรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคารเมื่อ จะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่านต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่าน ไปก่อนเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้
ความรู้ทั่วไปการขับขี่

1 เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขับขี่

หมวกกันน๊อค

  • ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายต้องสวมใส่หมวกกันน๊อคในขณะขับขี่ทุกครั้ง และหมวกกันน๊อคต้องมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก.
  • การสวมใส่หมวกกันน๊อคทุกครั้ง ต้องใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี ไม่รัดแน่นหรือหลวมเกินไป โดยปกติ
  • สามารถใช้นิ้วชี้สอดเข้าไปใต้คางได้พอดี

แว่นตากันลม

  • ผู้ขับขี่ควรที่จะสวมใส่แว่นกันลม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง,เศษหิน,ทราย,ตัวแมลง หรือน้ำฝนกระเด็นเข้าตาในขณะขับขี่

เสื้อแจ็กเก็ตและกางเกง

  • ควรสวมเสื้อแจ็กเก็ตที่มีสีสันสว่างสดใส เพื่อให้ผู้อื่นมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไกล
  • กางเกงควรเป็นกางเกงที่มีเนื้อผ้าที่หนา เช่น กางเกงยีนส์ ที่ไม่คับหรือหลวมเกินไป

ถุงมือ

  • ผู้ขับขี่ใส่ถุงมือสำหรับขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อให้กระชับในขณะขับขี่และป้องกันมิให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงที่มือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

รองเท้า

  • ควรสวมใส่รองเท้าบู๊ทหรือรองเท้าหุ้มส้นทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย ไม่ควรสวมรองเท้าแตะในการขับขี่รถเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงบริเวณเท้าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

2. การใช้ขาตั้งข้างและการจูงรถจักรยานยนต์

2.1 วิธีการเก็บและใช้ขาตั้งกลาง

ก.การเก็บขาตั้งกลาง

  • ใช้มือทั้งสองข้างจับที่แฮนด์รถ อย่าให้หน้ารถหันไปด้านซ้ายหรือขวา
  • 2. ดันรถให้ไปข้างหน้าด้วยแขนทั้งสองข้างพร้อมกับใช้สะโพกด้านข้างดันรถไว้เพื่อมิให้ล้ม
  • ขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัวจากขาตั้งกลางให้ใช้มือขวาค่อยๆ บีบเบรกหน้าเพื่อช่วยป้องกันมิให้รถลื่นไถลไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ข.ใช้ขาตั้งกลาง

  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์รถ มือขวาจับใต้เบาะด้านหลังรถ
  • รักษาตำแหน่งหน้ารถให้แฮนด์ตั้งตรงอยู่เสมอไม่หันไปทางซ้ายหรือขวา
  • เท้าขวาเหยียบลงบนคานของขาตั้งกลาง ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนคานตั้งทั้งตัว พร้อมกับใช้มือขวาที่จับอยู่ด้านหลังรถยกขึ้นในจังหวะเดียวกัน

ข้อควรระวังในการจอดรถโดยใช้ขาตั้ง

  • ควรเลือกพื้นถนนที่ราบเรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ และแข็งพอที่จะไม่ทำให้รถล้มลงได้
  • การใช้ขาตั้งกลางขณะที่รถเอียงหรือตั้งหน้ารถไม่ตรง จะต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ

วิธีใช้และเก็บขาตั้งข้าง

  • เลือกพื้นถนนที่แข็งเพื่อมิให้พื้นเกิดการยุบตัว
  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์มือขวาจับที่มือจับด้านหลังหรือจะใช้มือทั้งสองข้างจับยึดที่แฮนด์ด้านหน้าอย่างเดียวก็ได้ รักษาตำแหน่งรถให้ตั้งตรงใช้เท้าขวาถีบขาตั้งข้างลงมาจนสุด
  • ค่อยๆ เอียงรถช้าๆ จนกว่าขาตั้งข้างจะสัมผัสกับพื้นถนน จับแฮนด์รถหันไปทางซ้ายในตำแหน่งล๊อคคอรถ
  • ใส่เกียร์รถไปที่ตำแหน่งเกียร์1 เพื่อป้องกันรถลื่นไถล
    • ยกรถขึ้นจนกระทั่งปลายขาตั้งข้างพ้นจากพื้นถนน ตำแหน่งรถตั้งตรง
    • ใช้ปลายเท้าขวาเตะขาตั้งข้างขึ้นเก็บเข้าที่เดิม

2.2 การจูงรถ

ก. การจูงรถไปด้านหน้า

  • ใช้มือทั้งสองข้างจับที่แฮนด์มือขวาพร้อมที่จะใช้เบรคหน้าได้ตลอดเวลาเมื่อจำเป็น
  • รักษาตำแหน่งรถให้ตั้งตรง
  • ใช้ลำตัวแนบเข้ากับตัวรถดันมิให้ล้ม พร้อมกับออกแรงดันรถไปด้านหน้า

ข.การจูงรถรูปเลข 8

  • เมื่อต้องการจูงรถไปด้านซ้ายให้หันแฮนด์รถไปทางซ้าย เอียงรถเข้าหาลำตัวเล็กน้อย
  • เมื่อต้องการจูงรถไปด้านขวาให้หันแฮนด์รถไปทางขวาพร้อมกับใช้สะโพกดันรถไว้อยู่ตลอดเวลา

ค.การจูงรถถอยหลัง

  • ใช้มือซ้ายจับที่แฮนด์ มือขวาจับที่มือจับด้านหลัง
  • ค่อยๆ ดันรถไปทางด้านหลังช้าๆ ระวังอย่าให้หน้ารถส่ายไปมา

2.3 วิธีการยกรถเมื่อล้ม

กรณีรถล้มลงทางด้านซ้ายมือ

  • จับแฮนด์รถไปทางด้านขวา จนกระทั่งสุดในตำแหน่งล๊อคคอ
  • ใช้มือทั้งสองชข้างจับที่แฮนด์ทั้งสองข้าง มือขวาบีบคันเบรคหน้าเอาไว้
  • ค่อยๆ ยกรถขึ้นด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้เข่าและสะโพกแนบกับตัวรถ ค่อยๆ ดันรถขึ้นช้าๆ ในจังหวะเดียวกัน จนกว่ารถจะตั้งตรง
  • ใช้เท้าขวาเขี่ยขาตั้งข้างลง ค่อย ๆ เอียงรถจนกระทั่งปลายขาตั้งสัมผัสกับพื้นถนนอย่างมั่นคง

กรณีรถล้มทางด้านขวา

  • ให้เดินอ้อมไปทางด้านที่รถล้มแล้วเอาขาตั้งข้างกางออกให้สุด
  • จับแฮนด์รถหันไปด้านซ้ายและใช้วิธีการยกรถเช่นเดียวกันกับกรณีรถล้มทางด้านซ้ายมือ จนกว่าขาตั้งจะสัมผัสกับพื้นถนน

3. การตรวจเช็คก่อนการขับขี่

ขับขี่ควรหมั่นตรวจเช็ครถก่อนการขับขี่ทุกครั้ง รถต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานอยู่ตลอดเวลา
ควรสำรวจตัวรถและตรวจเช็คระบบที่สำคัญต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
และเพื่อความปลอยภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนอื่นๆ

ก. น้ำมันเชื้อเพลิง

  • การขับขี่ทุกครั้งต้องแน่ใจว่า มีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงพออยู่เสมอ

ข.น้ำมันหล่อลื่น

  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันหล่อลื่นให้อยู่ในระดับที่กำหนด และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งที่น้ำมันเครื่องสกปรก

ค.ยาง

  • ควรตรวจเช็คแรงดันลมยางให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
  • ควรตรวจเช็คสภาพและการสึกหรอของยางอย่างสม่ำเสมอ

4. ท่าทางการขับขี่

ก. การขึ้นรถ - ลงรถ

การขึ้นหรือลงรถทุกครั้งให้ใช้มือขวาบีบคันเบรคหน้าไว้แล้วหันมองดูหลังจนแน่ใจว่า ไม่มีรถคันอื่นตามหรือวิ่งแซงมาเมื่อขึ้นหรือลงรถ ให้ใช้เพียงเท้าซ้ายยึดเป็นหลักให้มั่น จงจำไว้ว่า
เมื่อขึ้นหรือลงรถ ให้ใช้เพียงเท้าซ้ายยึดเป็นหลักให้มั่น จงจำไว้ว่า
  • อย่าหันหรือหมุนแฮนด์รถไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
  • ควรเอียงรถเข้าหาตัวผู้ขับขี่เล็กน้อย
  • ควรวางเท้าซ้ายของท่านให้มั่นคงลงบนพื้นถนน

ข. ตำแหน่งการนั่งขับขี่

การนั่งขับขี่รถในตำแหน่งที่ถูกต้องทำให้เกิดความ
  • คล่องตัวในการควบคุมรถ
  • มีการทรงตัวที่ดี
  • ทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ดี
  • ไม่เมื่อยล้าในขณะขับขี่ (ไม่ควรนั่งชิดด้านหน้าหรือหลังมากเกินไป)
  • ตามองตรงไปข้างหน้าไม่ก้มหรือเงย
  • วางไหล่ให้สบายๆ ไม่ยกหรือเกร็งจนเกินไป
  • ปล่อยแขนตามธรรมชาติไม่กางออก
  • จับแฮนด์ทั้งสองให้มืออยู่ระหว่างกึ่งกลางของมือจับพอดี และให้กระชับ ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
  • นั่งขับขี่รถในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการควบคุม
  • วางเท้าทั้งสองลงบนที่พักเท้า ให้ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า โดยที่ปลายเท้าขวา แตะเบาๆ อยู่คันเบรคหลัง และปลายเท้าซ้ายวางไว้ที่คันเปลี่ยนเกียร์ (อย่าสอดปลายเท้าทั้งสองไว้ด้านล่างคันเปลี่ยนเกียร์ และคันเบรคหลัง)
  • หัวเข่าเหยียดตรงไปข้างหน้า บีบกระชับให้พอดีๆ กับถังน้ำมัน (อย่ากางเข่าออกมาด้านซ้ายโดยเด็ดขาด)

5. การออกรถ, การหยุดรถ

ก. การออกรถี่

  • มองดูรถคันอื่นและผู้เดินถนนในกระจกมองหลัง
  • ใช้เท้าขวาวางบนพื้นถนนเพื่อพยุงรถไม่ให้ล้ม
  • หลังจากทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ตามขั้นตอนของการสตาร์ทหน้า 21 แล้วค่อยๆ บีบคลัทช์มาด้านหลังช้าๆจนสุด
  • เลือกใช้เกียร์หนึ่ง
  • ก่อนที่จะออกรถหันมองดูด้านเหนือไหล่ขวา ว่ามีรถคันอื่นวิ่งมาหรือไม่
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้เปิดไฟเลี้ยวขวา
  • ทิ้งน้ำหนักตัวไปที่เท้าซ้ายเท้าขวาวางไว้ที่คันเบรกหลัง
  • บิดคันเร่งช้าๆ ให้รอบเครื่องยนต์อยู่ที่ 2,000 - 3,000 รอบ/นาที แล้วหยุดค้างไว้
  • ค่อยๆ ปล่อยคันคลัทช์ช้าๆจนกว่ารถจะค่อยๆ เคลื่อนตัว(ในตำแหน่งนี้มือยังคงกำคันคลัชอยู่) การปล่อยคันคลัทช์ให้ทำงานเร็วเกินไปจะเป็น สาเหตุให้รถออกตัวกระตุกหรือเครื่องยนต์ดับ (ท่านอาจสังเกตโดยการฟังเสียงของเครื่อง ยนต์หรืออาการสั่นของรถได้)
  • ปิดสวิทซ์ไฟเลี้ยวหลังจากที่รถ ออกตัวเรียบร้อยแล้ว
  • บิดคันเร่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น
  • ปล่อยคันคลัทช์จนสุด

ข. การหยุรถ

  • ตรวจเช็คความปลอดภัย มองดูกระจกหลังด้านซ้าย เช็คความปลอดภัยจากรถคันอื่น
  • ให้สัญญานไฟ เปิดสัญญานไฟเลี้ยวซ้าย
  • เช็คความปลอดภัยและขับรถออกไปทางด้านซ้าย มองดูด้านหลังเหนือไหล่ซ้าย เพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่มีรถหรือคนเดินถนนด้านซ้ายผ่านไปมา แล้วค่อยเลี้ยวรถเข้าชิดขอบทางด้านซ้าย
  • เบาคันเร่ง คืนคันเร่งจนสุดและใช้กำลังเครื่องยนต์ เป็นตัวช่วยลดความเร็ว (Engine Brake)
  • เบรค บีบคันเบรคหน้าด้านขวาของแฮนด์และ ใช้เท้าขวาเหยีบที่คันเบรคหลังช้าๆ เบาๆ
  • เริ่มบีบคลัทช์ ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังทำการหยุดรถ จนกระทั่งรถหยุดสนิทเปลี่ยนเกียร์ไป ที่เกียร์หนึ่ง หรือเกียร์ว่างเมื่อจอดรถ
  • หยุดรถ ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังทำการหยุดรถ จนกระทั่งรถหยุดสนิทเปลี่ยนเกียร์ไป ที่เกียร์หนึ่ง หรือเกียร์ว่างเมื่อจอดรถ
ความรู้พื้นฐานการขับขี่
ในบทนี้จะเป็นการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการใช้และควบคุมรถอย่างต่อเนื่องและราบรื่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่รถในทุกๆ สภาวการณ์ของการจราจรบนท้องถนน ดังนั้นจึงไม่ควรจะเรียนรู้เฉพาะพื้นฐานการขับขี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ขับขี่ควรมีจิตสำนึกความปลอดภัยในขณะขับขี่ด้วย

1. การออกรถและการเร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล

ในขณะที่กำลังจะนำรถออกมาจากขอบทางด้านซ้ายของถนน สิ่งที่สำคัญอบย่างยิ่งที่จะต้องทำก็คือ ต้องควบคุมรถได้อย่างมั่นคง และออกรถได้จังหวะสอดคล้องกับสภาพการจราจรในขณะนั้น การออกรถ
  • เพื่อความปลอดภัย หันมองดูรอบๆ แล้วเปิดไฟสัญญาณเลี้ยวขวา
  • เลือกใช้เกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์1
  • หันมองผ่านเหนือไหล่ขวาตรวจเช็คความปลอดภัยอีกครั้ง
  • เริ่มออกรถไปทางขวาช้า ๆ
  • เมื่อออกรถเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดไฟสัญญาณเลี้ยวขวา

ข้อแนะนำในการออกรถ

  • การออกรถต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จงระมัดระวังอย่าให้รถคันอื่นต้องหลบหรือลดความเร็วลงในขณะที่ท่านนำรถออกจากข้างทาง
  • ระวัง! อย่าออกรถด้วยการเลี้ยวออกมาทางด้านขวาอย่างกระทันหัน

การออกรถอย่างรวดเร็วและการเร่งความเร็ว

  • หมั่นพยายามฝึกฝนหาความชำนาญในการออกรถอย่างรวดเร็ว ด้วยการบิดคันเร่งและปล่อยคลัทช์อย่างรวดเร็วให้สัมพันธ์เวลาเดียวกัน จนกว่าจะเกิดความคล่องตัวในการใช้คลัทช์ได้อย่างดี เพราะบางครั้งการขับขี่รถบางครั้งการขับขี่รถต้องให้สอดคล้องกับสภาพการจราจรในช่วงเวลาการจราจรติดขัดหรือในชั่วโมงเร่งด่วน
  • ฝึกการใช้คลัทช์สลับกันไปมาเพื่อช่วยในการปรับลดความเร็วในขณะขับขี่รถเข้าทางแยกหรือหักมุมถนน

2. การเปลี่ยนเกียร์

ก. วิธีเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์สูงกว่า

จากตารางด้านล่างนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่า เมื่อไรควรจะเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่า การที่จะตัดสินใจเปลี่ยนเกียร์ให้อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่านั้นปัจจัยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์จราจรรอบๆ ตัว, ความเร็วที่กำลังใช้อยู่ และสมรรณะของเครื่องยนต์
การเปลี่ยนรถให้ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่สูงกว่าโดยไม่เร่งเครื่องยนต์ อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการสั่นหรือกระตุก และถ้าหากการใช้เกียร์ต่ำในขณะที่วิ่งรถวิ่งด้วยความเร็วสูง ก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและมีเสียดังเนื่องจากเครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วสูง ข้อแนะนำ ควรเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมและสัมพันธ์กันกับความเร็วของรถด้วยวิธีการดูอาการสั่นหรือฟังสียงของเครื่องยนต์

ข. วิธีเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ต่ำกว่า

  • จากตารางด้านบนนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่า เมื่อไรควรจะเปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำกว่า การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ดังต่อไปนี้
  • เมื่อลดความเร็วลง
  • ขณะขับขี่รถบนทางสูงชันหรือขณะที่แซงรถคันอื่น
  • ต้องการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกในขณะขับขี่บนถนนที่เปียกลื่นหรือขับขี่รถลงเขา

3. การเบรค

ประโยชน์ของการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อลดความเร็วของรถ
ในขณะที่เบาคันเร่ง เครื่องยนต์จะค่อยๆ ช้าลง ล้อหลังซึ่งทำงานสัมพันธ์กันกับเครื่องยนต์จะค่อยๆ หมุนช้าลงไป ส่งผลให้ความเร็วของรถช้าลงไปด้วย การลด ความเร็วของรถด้วยวิธีนี้ เรียกว่า การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค (Engine brake) และถ้าต้องการจะลดความเร็วของรถให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำกว่า การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคด้วยวิธีนี้สำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องการจะชะลอคลอความเร็ว ในขณะที่ขับขี่รถเข้าไปบนถนนที่เปียกกลื่น, ขณะขับขี่รถลงจากลงที่ลาดชัน, หรือเมื่อต้องการจะลดความเร็วของรถในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง อย่างไรก็ตาม จงจำไว้เสมอว่าการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคจะไม่เป็นผล ถ้ามือซ้ายยังบีบคลัทช์อยู่

การใช้เบรคหน้าและเบรคหลังอย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมให้รถหยุดอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จงพยายามฝึกฝนเทคนิคที่จะทำให้คุณหยุดรถได้ในระยะทางสิ้นสุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่เสียการทรงตัว

ก. วิธัใช้เบรคหน้า

เบรคหน้าเป็นเบรคที่มีประสิทธิภาพในการหยุดรถได้ดี กว่าเบรกหลัง การใช้เบรกหน้าสามารถกระทำได้โดยค่อยๆ บีบคันเบรคด้วยมือขวา ถ้าปรากฏว่าล้อหน้าถูกล๊อคและรถ เริ่มมีอาการลื่นไถลในขณะที่ใช้เบรคหน้าให้รีบปล่อย คันเบรคทันที่แล้วค่อยๆควบคุมรถให้ตั้งตรงเนื่องจาก เบรกหน้าใช้บังคับด้วยมือจึงควบคุมได้ดีกว่าลองเริ่มเบรค เบาๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วค่อยๆ เพิ่มแรงบีบมากขึ้นๆ จนกว่ารถจะหยุด

ข. วิธีใช้เบรคหลัง

เบรคหลังสามารถกระทำได้โดยใช้เท้าขวาเหยียบลงบนคันเบรค การใช้เบรกหลังอย่างเดียวไม่สามารถที่จะหยุดรถได้ในระยะสั้นๆ เพราะเบรกหลังมีประสิทธิภาพในการหยุดรถได้น้อยกว่าเบรคหน้า และถ้าหากท่านใช้เบรคหลังเพียงอย่างเดียวอย่างรุนแรง ก็จะทำให้ล้อหลังล๊อค เป็นเหตุทำให้รถลื่นไถลหรือล้มลงได้ พยายามใช้เบรกหลังเบาๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มแรงเบรกทีละน้อย

ข้อแนะนำในการใช้เบรคอย่างถูกวิธี

  • คืนคันเร่งแล้วใช้เบรค (วิธีนี้จะทำให้เกิดการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค)
  • ใช้เบรคหน้าและเบรคหลังพร้อมๆ กัน (จะสามารถหยุดรถได้ด้วยระยะทางสั้นๆ และมีประสิทธิภาพ)
  • การใช้เบรคควรใช้ในขณะที่รถอยู่ในตำแหน่งตั้งตรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างกระทันหันหรืออย่างรุนแรง
  • การใช้เบรคด้วยวิธีย้ำเบรคก่อนหยุดรถจะช่วยหลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างรุนแรงและช่วยเตือน ให้ผู้ขับขี่ด้านหลังเพิ่มความระมัดระวังขึ้นมาก เพราะขณะที่ใช้เบรคสัญญาณไฟเบรคจะปรากฏที่ด้านหลังรถทุกครั้งที่ใช้เบรค
  • บนพื้นผิวถนนที่เปียก ระยะทางการหยุดรถต้องยาวกว่าพื้นถนนแห้ง จงหลีกเลี่ยงการเบรคอย่างกระทันหันและรุนแรง เพราะจะทำให้รถเสียหลักลื่นไถลหรือล้มลงได้ การใช้เบรคบนถนนที่เปียกต้องตั้งตัวรถให้ตรงอยู่เสมอหลีกเลี่ยงการใช้เบรคอย่างรุนแรง และควรขับขี่รถทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้ามากกว่าปกติพอสมควร

4. การควบคุมความเร็ว

การควบคุมความเร็วรถให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมิใช่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรเท่านั้น แต่สภาพถนนยังเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย การฝึกฝนเปลี่ยนเกียร์ขึ้น - ลงให้เกิดความชำนาญ, การ ฝึกใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคพร้อมๆ กับการใช้เบรคทั้งสองอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้การขับขี่รถเป็นไปด้วยความนุ่มนวลและปลอดภัย

ก. การควบคุมความเร็วบนถนนทางตรง

  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัยตามความเหมาะสมของสภาพการจราจร
  • อย่าเพิ่มหรือลดความเร็วโดยไม่จำเป็น
  • ขับขี่รถด้วยความระมัดระวังไม่กีดขวางการจราจร

ข. การใช้คลัทช์ขณะขับขี่ที่ความเร็วต่ำ

  • เลือกใช้เกียร์ 1 หรือ 2 พร้อมกับบิดคันเร่งเล็กน้อย ควบคุมความเร็วด้วยการบีบคลัทช์ช่วยประมาณของปกติ เพื่อช่วยมิให้เครื่องยนต์ดับหรือเกิดอาการกระตุก
  • พยายามควบคุมให้ตรง อย่าเสียการทรงตัว กรณีที่ขับขี่รถที่ความเร็วต่ำมากๆ เครื่องอาจจะสั่นหรือกระตุก ให้บิดคันเร่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยพร้อมกับบีบคลัทช์

ค. การควบคุมความเร็วขณะเข้าโค้ง

  • ลดความเร็วก่อนที่จะเข้าโค้ง
  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัยให้คงที่ขณะเข้าโค้ง
  • ค่อยๆ เพิ่มความเร็วในขณะที่รถกำลังจะวิ่งผ่านทางโค้งอย่างนุ่มนวล และต้องมั่นใจว่าปลอดภัย
  • เร่งความเร็วเต็มที่เมื่อรถวิ่งผ่านพ้นทางโค้งแล้ว

5. การใช้เบรก

ก. วิธีหยุดรถที่จุดเบรค

  • ลดความเร็วลงก่อนถึงเป้าหมายที่จะเบรค เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เบรคหลายๆ ครั้ง (ควรใช้เบรคหน้า - เบรคหลัง และเครื่องยนต์ช่วยเบรคพร้อมๆ กันเพื่อหยุดรถได้ตามเป้าหมายที่กำหนด)
  • หยุดรถให้ปลายสุดของล้อหน้าสัมผัสกับจุดเบรคที่กำหนดให้หยุด
  • เปลี่ยนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ 1 ก่อนที่จะหยุดรถ
  • เมื่อรถหยุดนิ่งแล้วให้ใช้เท้าซ้ายวางลงบนพื้น พร้อมกับบีบคลัทช์ด้วยมือซ้ายจนสุด

ข. การเบรคอย่างกระทันหัน

ควรฝึกฝนการเบรคอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยใช้ระยะทางในการเบรคให้สั้นที่สุดและในกรณีที่ต้องเบรคอย่างฉุกเฉิน เช่น คนวิ่งข้ามถนนตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดหรือมีรถวิ่งตัดหน้าอย่างคาดไม่ถึง

ค. ข้อแนะนำในการใช้เบรคอย่างกระทันหัน

  • ควบคุมรถให้ตั้งตรง
  • ทำการเบรครถอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ใช้เบรคหน้ามากกว่าเบรคหลัง ระวังให้ล้อล๊อค
  • รักษาท่าทางการขับขี่ให้ถูกต้อง ในขณะที่เบรคอย่างรวดเร็ว
    • เข่าทั้งสองหนีบชิดกับถังน้ำมัน
    • ศอกทั้งสองแบนชิดลำตัว
    • มือทั้งสองข้างจับแฮนด์ให้กระชับ งอข้อมือเล็กน้อย ลักษณะเตรียมพร้อมที่จะรับน้ำหนักตัวเอาไว้ไม่ให้ถลำไปด้านหน้า
  • บีบคลัทช์ให้สุดก่อนที่จะหยุดรถ แล้ววางเท้าซ้ายบน

6. การเข้าโค้ง

6.1 ท่าทางการขับขี่และการมองขณะเข้าโค้ง

ก. ท่าทางการขับขี่

  • การเอียงตัว ควรอียงตัวไปในทิศทางเดียวกันกับตัวรถ ซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่จะต้องเอียงตัวตามไปในทิศทางของทางโค้ง
  • ศรีษะตั้งตรง อย่าเอียงไปทิศทางเดียวกับรถ
  • ห้ามเอียงรถมากจนเกินไป
  • เท้าทั้งสองวางอยู่บนที่พักเท้าตลอดเวลา

ข. การมอง

  • มองไกลไปข้างหน้าตรงจุดที่ต้องการจะไป
  • ห้ามก้มมองลงที่พื้นหรือก้มหน้า

6.2 การเข้าโค้งและการเอียงตัว

โดยปกติในขณะที่รถไปบนทางโค้งผู้ขับขี่จะต้องเอียงตัวรถไปในทางทิศเดียวกันกับทางโค้งที่จะไปข้างหน้า เรา เรียกอาการเช่นนี้ว่า "การเอียงรถ" (Banking)
  • ทำนองเดียวกับผู้ขับขี่จะต้องเอียงตัวในทิศทางเดียวกันกับตัวรถด้วย
  • เมื่อขับขี่รถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง ควรจะเออียงตัวรถให้เหมาะเพื่อสร้างสมดุลย์กับแรงหนีศูนย์กลาง(centrifugal force) ที่เกิดขึ้น
  • ถ้าหากท่านเอียงรถมากเกินไปก็จะทำรถเสียหลักลื่นไถลและล้มลงได้
  • เมื่อขับขี่รถเข้าโค้งที่ง่ายๆ หรือใช้ความเร็วช้าๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอียงตัวรถมากเกินไป

ข้อแนะนำในการเข้าโค้ง

  • ลดความเร็วลงก่อนที่จะเข้าโค้ง
  • รักษาความเร็วที่ปลอดภัย และเริ่มเอียงตัวรถให้ทำมุมที่พอเหมาะกับสภาพของโค้งถนน
  • ค่อยๆ เร่งเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวลเมือรถเริ่มผ่านโค้ง เพื่อช่วยพยุงรถให้ตั้งตรง
  • โดยปกติทั่วๆ ไปจะไม่มีการใช้เบรคขณะที่รถอยู่ในโค้ง แต่ถ้าจำเป็นต้องชะลอความเร็วลงขณะอยู่ในโค้งควรใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค (Engine Brake) พร้อมๆ กับใช้เบรคหน้าช่วยเพียงเล็กน้อย
  • เมื่อเข้าโค้งบนถนนที่เปียกหรือลื่น ควรเข้าโค้งอย่างช้าๆ ห้ามเอียงรถมากเกินความจำเป็น

7. การทรงตัวที่ความเร็วต่ำ

7.1 วิธีการขับขี่บนไม้กระดานแคบ

ในขณะขับขี่รถด้วยความเร็วต่ำ จะทำให้เกิดเสียการทรงตัว รถส่ายไปมาได้ง่าย ในบทนี้จะเรียนรู้ถึงวิธีการทรงตัวในขณะที่ขับขี่รถด้วยความเร็วต่ำโดยทดสอบบนไม้กระดานแคบๆ
  • หยุดรถก่อนจะถึงไม้กระดานแคบ ตั้งล้อหน้าให้ตรง
  • เลือกให้เกียร์ 1 ในการออกรถ ทันทีที่ ล้อหน้าอยู่บนไม้กระดาน ค่อยๆ ควบคุมรถให้ล้อหน้าตั้งตรง
  • ขับขี่ด้วยความเร็วที่คงที่ช้าๆ
    • พยายามควบคุมรถให้ช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดย ใช้ส่วนบังคับ เช่น คัน เร่ง, เบรคหลังและคลัทช์ ให้สัมพันธ์กัน
    • แนบเข่าทั้งสองข้างไว้กับถังน้ำมัน ถ้ารถเริ่มส่ายไปทางซ้ายหรือ ทางขวาให้รีบแก้ไขด้วยการบังคับ แฮนด์ให้ตรงหรือโยกตัวขึ้นเพื่อถ่ายน้ำหนักให้สมดุล
    • สายตามองตรงไปข้างหน้า

7.2 วิธีขับขี่ในทางคับแคบ

ต้องคำนึงถึงขนาดของตัวรถและศึกษาเส้นทางเสียก่อนว่า ล้อหน้าและล้อหลังของรถจะสามารถไปในช่องทางคับแคบนั้นได้หรือไม่ในขณะที่รถเลี้ยวไปมา
  • ก. คาดคะเนขนาดของตัวรถว่าสามารถที่จะขับขี่ผ่านไปในช่องทางแคบๆ ทั้งสองข้างนั้นได้หรือไม่
  • ข. ขณะขับขี่ในทางคับแคคดเคี้ยว โดยมีเครื่องหมายอยู่ที่ล้อทั้งสองข้าง จะแสดงถึงความแตกต่างของแนววิ่งของล้อหน้าและล้อหลัง

7.3 การทรงตัวบนทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง

ขณะขับขี่ผ่านทางคดเคี้ยวที่มีสิ่งกีดขวาง ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของผู้ ขับขี่กับรถ และการทรงตัว ฝึกฝนซ้ำๆ ตั้งแต่ความเร็ว 10 กม. /ชม. จนถึง 30 กม. /ชม.จนมั่นใจว่าสามารถบังคับคันเร่งและห้ามล้อได้ รู้จักการเอียงไปทางซ้ายหรือขวาและการตั้งรถตรงทั้งหมดนี้จะช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับขี่อย่างปลอดภัยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  • ตามองตรงไปที่กรวยยาง แถวที่ 2 และ 3
  • ควบคุมรถให้ตั้งตรง
  • เริ่มเอียงตัวรถไปทางซ้าย
  • บิดคันเร่งเพื่อให้รถเริ่มทรงตัวตั้งตรง
  • ตั้งรถตรงและผ่อนคันเร่ง
  • เอียงรถไปทางขวา

8. การทบทวนข้อปฏิบัติ

ให้ผู้ขับขี่ทำการทบทวนโดยรวมข้อปฏิบัติในบทที่หนึ่งและบทที่สอง เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญในการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย ควรตรวจสอบรายการต่อไปนี้ว่า ท่านมีความสามารถทำได้ครบถ้วน และถูกต้องหรือไม่
  • ท่าทางการขับขี่ของท่านถูกต้องหรือไม่
  • ท่านออกรถอย่างถูกต้องโดยปราศจากความยุ่งยากหรือไม่
  • ท่านสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ตามต้องการด้วยความเรียบร้อยหรือไม่
  • ท่านสามารถควบคุมการใช้เบรคได้ดีหรือไม่
  • ท่านสามารถหยุดรถได้ทันท่วงทีหรือหยุดรถขณะคับขันได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • ท่านลดความเร็วก่อนเข้าทางโค้งและขับขี่ผ่านทางโค้งโดยท่าทางการขับขี่ที่ถูกต้องหรือไม่
  • ท่านสามารถขับขี่บนไม้กระดานแคบและทางที่คดเคี้ยวมีสิ่งกีดขวางได้โดยง่ายดายหรือไม่
หากท่านติดขัดหรือหรือไม่สามารถทำได้อย่างถูกต้องในข้อใดข้อหนึ่ง จงพยายามหมั่นฝึกฝนให้บ่อยครั้งในหัวข้อนั้น จนกว่าท่านจะมีความรู้สึกว่าทำได้อย่างคล่องแคล่ว และถูกต้องแล้ว
การฝึกฝนขับขี่ให้ถูกต้อง
ในบทที่ 3 ผู้ขับขี่ต้องรวบรวมข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ผ่านมาทำการฝึกฝนเพื่อ เพิ่มความชำนาญในการขับขี่ นอกจากนั้นควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยและทัศนคติที่ดีต่อกันในการขับขี่อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะสามารถใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย

1. ผู้ขับขี่ต้องเคารพกฎจราจรเสมอ

ท่านต้องหมั่นฝึกฝนปฏิบัติตามแนวทางที่เรียนมาอย่างเป็นแบบแผน บทเรียนในภาคทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้เกิดความชำนาญในการขับขี่อย่างปลอดภัย ทั้งยังต้องมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
  • ช่องทางเดินรถ
  • ป้ายบังคับ, ป้ายเตือน
  • ไฟสัญญาณ และเครื่องหมายจราจร
  • การเปลี่ยนช่องทางเดินรถ
  • การขับขี่ผ่านทางร่วมทางแยก
  • เส้นเครื่องหมายบนพื้นทาง
  • การขับขี่รถในวงเวียน

2. การขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย

ต้องระลึกไว้เสมอว่าการขับขี่รถที่มีคนซ้อนท้ายต้องอาศัยความชำนาญมากกว่าการขับขี่คนเดียว การเดินเครื่องและลักษณะท่าทางจะแตกต่างกันไปหลายประการ ดังนั้นจึงต้องการความระมัดระวังมากขึ้นในการขับขี่

การบรรทุกผู้โดยสาร

  • มือ(ผู้โดยสาร) คนซ้อนท้ายต้องกอดเอวผู้ขับขี่
  • ส่วนบนของร่างกาย คนซ้อนท้ายต้องนั่งชิดด้านหลังของผู้ขับขี่
  • เท้า คนซ้อนท้าย ต้องวางเท้าบนที่พักเท้าหลัง
  • เข่า คนซ้อนท้ายต้องนั่งบีบเข่าให้แนบสะโพกผู้ขับขี่
** ผู้ขับขี่จะเคลื่อนรถได้เมื่อแน่ใจว่าคนซ้อนท้ายนั่งที่เรียบร้อยแล้ว วิธีปฏิบัติในการขับขี่เมื่อมีคนซ้อนท้าย

ก. การขับขี่ทั่วไป

  • รถอาจจะส่ายไปมา แล่นช้า หรือเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว ต้องเว้นที่ว่างให้พอเพียงระหว่างตัวเราและยวดยานทั้งด้านขวาและด้านซ้าย ไม่ควรเปลี่ยนทิศทางในทันทีทันใด
  • การกระทำใดๆ โดยฉับพลันอาจก่อให้เกิดความสับสนและอันตราย ผู้ขับขี่ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย

ข. การเข้าโค้ง

  • เนื่องจากรถมักจะหลุดออกจากโค้ง จึงควรลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง ผู้ขับขี่ควรขับเข้าโค้งช้ากว่าตอนที่ขับคนเดียว
  • ผู้โดยสารควรเอียงตัวไปในทิศทางเดียวกันกับรถ

ค. การเบรค (การหยุดรถ)

  • ไม่ควรหยุดรถในระยะใกล้ หรือกระชั้นชิดเกินไป
  • ควรหยุดรถทิ้งช่วงห่างจากรถคันหน้าพอสมควร
  • ควบคุมเบรค และเบรคอย่างนุ่มนวล
  • เมื่อผู้ขับขี่เบรคอย่างกระทันหัน น้ำหนักของผู้โดยสารจะทับลง (จะเกิดแรงส่ง) มาบนหลังผู้ขับขี่
  • ยกหัวเข่าสูงขึ้นและแนบกับตัวรถเพื่อป้องกันมิให้สะโพกเคลื่อนไปข้างหน้า

3. การขับขี่ตามสภาพการจราจรและสภาพถนนต่างๆ

ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ฝึกฝนมาจากบทเรียนในภาคทฤษฎี สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้เกิดนิสัยการขับขี่ที่ปลอดภัยบนสภาพถนนทุกรูปแบบ สิ่งสำคัญต่อไปนี้ ผู้ขับขี่ทุกคนพึงนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัย
  • การปรับระดับความเร็ว
  • ระยะห่างในการหยุดรถ
  • การขับแซง
  • การแล่นแซง และการถูกแซง
  • การขับขี่ในเวลากลางคืน
  • การขับขี่ในขณะฝนตก

4. บทสรุป

ผู้ขับขี่ต้องนำเอาบทเรียนทั้ง 3 บทที่ผ่านมานี้ มารวบรวมเพื่อฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้ครบถ้วน และต้องหมั่นฝึกฝนในบทเรียนที่ท่านคิดว่ายังไม่สามารถทำได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง การขับขี่รถที่ดีและปลอดภัยมิใช้แต่เพียงแค่ขับขี่รถได้ชำนาญอย่างเดียวเท่านั้น แต่การศึกษาเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎและเครื่องหมายจราจรอย่างเครงครัดนั้น สามารถทำให้ท่านผู้ขับขี่เป็นนักขับขี่รถที่ดีได้ด้วยประการทั้งปวง โปรดอย่างลืมว่าการขับขี่รถอย่างมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกความปลอดภับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันเท่านั้นที่จะทำให้ท่านขับขี่รถได้อย่างมีความสุขมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยกับตัวท่านเอง และบุคคลอื่นผู้ร่วมทาง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

ความหมายของคำที่ควรทราบ

  • การจราจร ความหมายว่า การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า คนที่ขี่ จูงหรือไล่ต้อนสัตว์
  • ทางร่วมแยก หมายความว่า พื้นที่ที่ทางเดินรถตั้งแต่สองสายตัดผ่านกัน รวมบรรจบกัน หรือติดกัน
  • เขตปลอดภัย หมายความ พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินทางข้ามทางหยุดรอหรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
  • ที่คับขัน หมายความว่า
    ทางที่มีจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ร่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย หรือเกิดความเสียหายแก่รถหรทอคนได้ง่าย รถยนต์ หมายความว่า รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ รถยนต์ส่วนบุคคล ผู้ขับขี่
    หมายความว่า ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์ขนส่งตามกฎหมายขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ
  • สัญญาณจราจร หมายความว่า สัญญาณใดๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น
  • เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใดๆ ที่ติดตั้งไว้ หรือให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

การใช้รถ

ลักษณะของรถที่ใช้ในทาง

1. ห้ามนำรถต่อไปนี้มาใช้ในทาง

  • รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัย แก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชน มาใช้ในทางเดินรถ
  • รถที่ไม่ได้ติดแผ่นป้ายทะเบียน
  • รถที่เกิดเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
  • รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง เว้นแต่ (1) รถที่ใช้ในราชการสงคราม (2) รถที่ใช้ในราชการตำรวจ (3) รถที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรี่

2. รถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมีหรือเสียงดังเกินที่กฎมายกกำหนด เช่น รถที่มีดังเกิน 85 เดซิเบล เอ หรือรถที่มีควันดำเกิน 50 เปอร์เซ็นต์

การใช้ไฟหรือเสียงสัญญาณ

  • ในเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดเจนภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าและไฟท้ายรถ (ไฟส่องสว่าง) ดังนี้
    • เปิดไฟสูงเมื่อไม่มีรถสวนมา
    • เปิดไฟต่ำเมื่อมีรถสวนมา
  • รถยนต์หรือจักรยานยนต์ต้องใช้เสียงสัญญาณแตรและให้ได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
  • ห้ามผู้ขับขี่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง เสียงดังเกินสมควร
    • การใช้เสียงสัญญาณจะใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุนั้นแต่จะใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรไม่ได้
  • รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ขณะขับรถอยู่ในทางเดินรถหรือในขณะจอดรถอยู่ในทางเดินของรถหรือไหล่ทาง ในขณะที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ผู้ขับขี่ต้องจุดไฟฟ้าสีแดง
    หรือเวลากลางวันต้องติดธงแดงไว้ที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกนั้นให้มองเห็นได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 150 เมตร

สัญญาณและเครื่องหมายจราจร

  • ผู้ขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
    • สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดหลังเส้นให้รถหยุด เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณจราจรสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด" เว้นแต่ผู้ขับขี่ได้เลยเส้นให้หยุดไปแล้วให้เลยไปได้
    • สัญญาณจราจรไฟแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดง ที่มีคำว่า "หยุด"ให้ผู้ขับขี่รถหยุดหลังเส้นให้รถหยุด
    • สัญญาณจราจรไฟเขียว หรือเครื่องหมายจราจรสีเขียวที่มีคำว่า "ไป" ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
    • สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียว ชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่ขับขี่ขับรถเลี้ยวหรือตรงไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้
    • สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีแดง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดเมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางจราจรแล้ว จึงขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
    • สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีเหลืออำพัน ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
    • สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรถกากบาท เฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถใดห้ามผู้ขับขี่รถในช่องเดินรถนั้น
    • สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปลูกศร อยู่เหนือช่องเดินรถใดให้ผู้ขับขี่รถในช่องเดินรถนั้นขับผ่านไปได้
  • ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร ที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง หยุดรถแต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนลงข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้าให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอ ยู่ทางด้านหลัง ขับผ่านไปได้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่บนนั้นแล้วโบกผ่านศรีษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับผ่านไปได้้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไประดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
    • เมื่อพนักงานจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนลงตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้นโบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหน้าของพนักงานจ้าหน้าที่ขับผ่านไปได้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของเจ้าหน้าที่พนักงานที่ต้องหยุดรถ
  • ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีดังต่ อไปนี้
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที่
    • เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกันให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้

การให้สัญญาณด้วยมือและแขน

  • เมื่อจะลดความเร็วของรถ ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง
  • เมื่อจะหยุดรถ ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น
  • เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือข้าง หน้าหลายๆ ครั้ง
  • เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางขวา ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่
  • เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางซ้าย ให้ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายๆ ครั้ง

การใช้ไฟสัญญาณของผู้ขับขี่

  • เมื่อจะหยุดรถผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟสีแดงที่ท้ายรถ
  • เมื่อจะเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือแซงรถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟกะพริบสีเหลืองอำพันที่ติด อยู่หน้าและท้ายรถหรือ เปลี่ยนช่องทางเดินรถ หรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
  • เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า ผู้ขับขี่ต้อง ให้สัญญาณไฟยกเลี้ยวสีเหลืองอำพัน หรือไฟกะพริบสีแดงหรือสีเหลือง อำพันที่ติดอยู่ท้ายรถทางด้านซ้ายของรถ
  • ผู้ที่จะเลี้ยวรถ ให้รถคันอื่นแซงเพื่อขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องทางเดินรถลดความเร็วหยุดรถ หรือจอดรถ ต้องให้สัญญาณ ด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณ ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
  • ผู้ขับขี่ต้องใช้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณ ก่อนที่จะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถลดความเร็วของรถ ลดความเร็ว หยุดรถ หรือจอดรถ เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร

การขับรถแซงและผ่านขึ้นหน้าคันอื่น

  • ในทางเดินรถที่ไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ผู้ขับขี่ประสงค์จะแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่น ต้องให้สัญญาณกะพริบไฟหน้าหลายๆ ครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวขวาหรือให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่คันหน้าให้สัญญาณตอบ (ยกไฟเลี้ยวที่ติดอยู่ด้านซ้ายของรถหรือให้สัญญาณด้วยมือและแขน โดยการยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอ ระดับไหล ่และโบกมือไปข้างหน้าหลาย ๆ ครั้ง)
  • การแซงต้องแซงด้านขวา
  • ผู้ขับขี่จะแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นด้านซ้ายได้ กรณีต่อไปนี้
    • รถที่กำลังแซงจะเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
    • ทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งช่องทางเดินรถไปในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
  • ห้ามขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่น ในกรณีต่อไปนี้
    • เมื่อรถกำลังขึ้นทางลาดชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง
    • ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางเข้า ทางร่วมแยก วงเวียน หรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
    • เมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร
    • เมื่อที่เข้าที่คับขัน หรือ เขตปลอดภัย
  • เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันหลังจากผู้ขับรถที่มีความเร็วช้าหรือใช้ความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่นที่ขับขี่ ในทิศทาง เดียวกันต้องยอมให้รถที่มีความเร็วสูงกว่า ผ่านขึ้นหน้าและผู้ขับขี่ที่ถูกขอทางต้องปฏิบัติดังนี้
    • ให้สัญญาณมือและแขนโดยยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวสีเหลืองอำพันที่ติดทางด้านซ้ายของรถ
    • ลดความเร็วของรถลง
    • ขับรถชิดด้านซ้ายของทางเดินรถเพื่อให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้าได้โดยปลอดภัย

การหยุดและการจอดรถ

  • การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณตามที่ กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะหยุดรถหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะหยุดหรือจอด ได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางจราจร
  • ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดให้ด้านซ้ายของรถขนานชิดกับขอบทางหรือ ไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
  • การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจอยู่ควบคุมรถนั้นผู้ขับขี่ต้องหยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อไว้
  • การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
  • ในกรณีเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขับข้อจนต้องจอดรถในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทาง เดินรถโดยเร็วที่สุด

ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ

  • รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเมืองเทศบาล ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถยนต์อื่นนอกจากข้อ 3 ขณะลากจูงรถพวง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนัก รถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถยนต์สามล้อบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมให้ขับในเขตกรุงเทพฯ เมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
  • รถยนต์อื่นนอกจากข้อ 1.และข้อ 2.(รถเก๋ง) หรือรถจักรยานยนต์ให้ขับในเขตกรุงเทพ เมืองพัทยา หรือเทศบาล ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือนอกเขตดังกล่าวไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    • ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตรายหรือเขตให้กลับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วและ เพิ่มความระมัดระวัง
    • ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ขับไม่เกินที่กำหนด ไว้ในเครื่องหมาย
    • ผู้ขับขี่จะต้องเลี้ยวให้รถคันอื่นแซงหรือผ่านขึ้นหน้า จอดรถหยุดรถ กลับรถหรือเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้ามเส้นให้หยุดรถ วงเวียน หรือขับรถบนเนินเขา บนสะพาน ที่เชิงสะพาน ที่แคบ ทางโค้งทางลาด ที่คับขัน ที่มีหมอก ฝน ฝุ่น ควัน จนทำให้ไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร ผู้ขับขี่ต้องลด ความเร็วในลักษณะที่จะให้เกิดความปลอดภัย

การขับผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน

  • เมื่อผู้ขับขี่รถมาถึงทางร่วมทางแยกและถ้าไม่มีเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
    • ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถที่มีอยู่ในทางร่วมทางแยกผ่านไปก่อน
    • ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้าน ซ้ายมือขอตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิ์ขับผ่านไปก่อน
    • ถ้าสัญญาณจราจรไฟเขียว ปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่มทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถ ผ่านพ้นทางร่วมทางแยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถ ที่หลังเส้นหยุดจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้นทาง ร่วมทางแยกไปได้
  • ผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียนซึ่งมิได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่น ต้องให้สิทธิแก้ผู้ขับรถ อยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน
  • ผู้ขับขี่ขัยรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคารเมื่อ จะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่านต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหรือแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่าน ไปก่อนเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถต่อไปได้